ลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นให้ธุรกิจ

4963

ในสถานการณ์ปกติ ช่วงเศรษฐกิจดีๆ คนมักจะมองกันแต่เรื่อง Growth อาจจะไม่ได้ Concern เรื่องเงินกันมาก แต่ตอนนี้เรื่อง Cost คงจะแซงในทุกเรื่องๆ ไปแล้ว

ผลการสำรวจจาก McKinsey ระบุว่า บริษัทกว่า 78% ลดต้นทุนด้วยการลดแต่จำนวนพนักงาน 

หรือสั่งว่าลดค่าใช้จ่าย 10% ทุกแผนก ถือเป็นการกำหนดค่าใช้จ่ายของแต่ละแผนกอย่างรวดเร็ว โดยไม่นึกถึงเรื่องเชิงกลยุทธ์ 

Advertisements

สิ่งที่ตามมาก็คือ “ขาดโอกาส” ที่จะปรับปรุงระบบในธุรกิจ ดังนั้นการ Cut Cost ต้องใช้วิธีที่เรียกว่า “Surgical” คือเหมือนเป็นการผ่าตัด ที่ต้องเจาะลงไปให้ถูกจุด จะทำแบบหว่านแหไม่ได้ 

ถ้าตัดงบหมด แล้วกลับมาคิดเรื่องการพัฒนา ปรับปรุงสินค้า หรือเพิ่มเติมอะไรใหม่ๆ ในอีก 3-6 เดือนข้างหน้า ก็อาจจะทำได้ไม่ทันแล้ว…

ดังนั้นการจะทำเรื่องนี้ให้ดีได้ ก็ต้องรู้ว่าอะไรบ้างที่ควรลด และอะไรที่ยังควรลงทุนอยู่

1.เรื่องเงินต้องรีบบริหารจัดการ และต้องบาลานซ์ให้ดี

ต้องเข้าใจสถานการณ์การเงินของบริษัท และบาลานซ์ระหว่างผลลัพธ์ หรือสถานการณ์ภายนอกด้วย : 

เช่น ต้องการจะออก Product A แล้วลงทุนเลย 10 ล้าน คิดไปเองว่า สินค้าตัวนี้ดีมีคุณภาพ ถ้าลงทุนช่วงนี้ได้กำไรคืนแน่นอน

แต่ Cashflow ไม่มี ต้องกู้เยอะ ซ้ำร้ายสินค้าตัวนี้ ดีมากๆ แต่กลับไม่ได้สอดคล้องกับ Trend หรือสถานการณ์ภายนอก มันก็ไม่เวิร์ค

ดังนั้นเราต้องคิดเรื่อง Cashflow และเข้าใจสถานการณ์ภายนอกด้วย เพื่อไม่ให้เราสามารถบริหารจัดการเงิน ซึ่งเป็นของที่มีค่ามากในเวลานี้ และลดการสร้างหนี้โดยไม่จำเป็น

การจะทำอะไรแล้วมันจะออกมาดีหรือไม่ดีตอนนี้ ตัว Product ก็เป็นปัจจัยสำคัญ แต่ตัวเงินสด สถานการณ์เงินของเราก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เราต้องบาลานซ์มันให้ได้

ของบางอย่างมันมากเกินไปหรือเปล่า :

อะไรที่เคยทำมาก่อนหน้านี้ หรือคนก่อนหน้านี้เคยทำ ก็เลยทำตามกันมา ควรจะต้องมาพิจารณาว่ายังจำเป็นอยู่หรือเปล่า เช่น ประกันหรือกรมธรรม์บางอย่างเราใช้มันมากเกินจำเป็นหรือไม่ เราจำเป็นที่ต้องใช้เรื่องนี้ไหม?

บางครั้งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ก็อาจทำให้เราต้องเอาเงินออกมากเกินความจำเป็น บางเรื่องความเสี่ยงไม่ได้สูงมาก แต่เราจ่ายค่าใช้จ่ายเราออกไปสูงมากก็มี

เจรจากับ Supplier สามารถประหยัดเงินได้มากถึง 20-35% :

สิ่งที่เป็นปัญหาช่วง Covid-19 คือเราต้องเจรจากับ Supplier ว่าอย่าให้ของขาด อย่าให้ Supply Chain มันพัง แต่ในช่วงเวลาแบบนี้ แม้ทุกอย่างจะเริ่มชัดขึ้น ก็ยังคงต้องเจรจาอยู่ดี

เพราะสิ่งที่เราไม่อยากเห็น คือการที่ธุรกิจล้มหายตายจาก ไม่ว่าจะเป็นของเรา หรือของ Supplier ก็ตาม ในบางรายการหรือของบางอย่าง เราอาจต้องเปิดอกคุยกันเลยว่า เราจะขอให้เขาช่วยเราในบางเรื่องได้ไหม และเราก็อาจจะขอช่วยเขาในบางเรื่องด้วยเช่นกัน

เพื่อให้ทั้งคู่ Win-Win ไปด้วยกันต่อได้ เช่น ขอให้ช่วยลดราคาให้เราหน่อย เพราะว่าการที่ต้นทุนเราสูง จะทำให้แข่งขันไม่ได้ ในขณะเดียวกันเราก็อาจจะช่วย Supplier โดยการทำจ่ายเงินให้เร็วขึ้น เพื่อให้สภาพคล่องเขาดีขึ้น เป็นต้น 

หลังจากนี้ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับ Supplier จะเปลี่ยนไป เมื่อก่อนมีอะไรก็ยกหูโทรสั่งของ แต่ช่วงเวลาแบบนี้เราต้องเน้นเรื่อง Partnership มากขึ้น ถ้าเป็นคู่ค้าแล้วไม่ win ทั้งคู่ ก็คงอยู่กันต่อได้ยาก

2.ปรับปรุงเรื่องการตลาด

เน้นฟังเสียงจากลูกค้า “ปัจจุบัน” เพราะถ้าเราทำ Market Reserch ไว้เมื่อ 2 ปีที่แล้ว หรือ 6 เดือนที่แล้ว เมื่อเทียบกับช่วงนี้ แม้ลูกค้าจะเป็นคนเดียวกัน แต่ก็จะตอบคำถามเราไม่เหมือนเดิม ช่วงนี้ต้องกลับมาคุยกันใหม่ 

เพราะลูกค้าคนปัจจุบันมีแนวโน้มว่าจะส่งผลต่อยอดขายค่อนข้างมาก และเพื่อให้เราใช้งบ Ads น้อยที่สุด และมีประสิทธิภาพมากที่สุด

อาจต้องเข้าใจเรื่องของสังคมวัฒนธรรม เช่น การสร้างแคมเปญที่ส่งผลด้านบวกต่อสังคม เพราะถ้าทำเรื่องนี้ไว้ดี ก็จะส่งผลต่อภาพรวมได้ดี แต่ถ้าไม่เข้าใจในเรื่องเหล่านี้ ทุกอย่างก็อาจจะแย่ลงกว่าเดิม

มีบทความหนึ่งจาก McKinsey ที่ชื่อว่า A better way to cut costs ได้พูดถึง Case หนึ่งที่น่าสนใจว่า มีบริษัทค้าปลีกระดับโลกแห่งหนึ่ง ยอดขายตกมากกว่า 20% และเขาก็ต้องการลดต้นทุน แต่ก็กลัวว่าการตัดงบผิดส่วน จะทำให้สถานการณ์ยิ่งแย่ลง จึงไปปรับในส่วนของการจัดโปรโมชั่น ส่งเสริมการขายให้เข้ากับ Trend ส่งผลให้ยอดขายกลับมาเพิ่มขึ้นกว่า 10%

3.ปรับโครงสร้างธุรกิจ และลดต้นทุนแฝง

ปรับโครงสร้างธุรกิจ ตัดในส่วนที่ให้ Revenue ต่ำ :

เช่น ธุรกิจของเราขาย Product อยู่ที่ 20 ชิ้น ซึ่งแน่นอนว่าต้องใช้กำลังการผลิตค่อนข้างสูง เราจะต้องมากางตัวเลขดูเลยว่า Product ไหนที่เราขายได้ดีที่สุด และ Product ตัวไหนที่ทรัพยากรเยอะ กำไรน้อย กำไรช้า หรือบางทีอาจจะขาดทุน ก็ไม่ควรที่จะลงทุนต่อ เอางบไปทุ่มหรือพัฒนาสิ่งที่เราทำได้ดี จะดีกว่า พูดง่ายๆ ก็คือ ลด SKU 

Advertisements

เช่น McDonald, Apple เมื่อตัด Product ที่ไม่จำเป็น ความสามารถในการทำกำไรก็สูงขึ้น

เพราะไม่มีทางที่ของ 20 ชิ้นจะขายได้เยอะเหมือนกันหมด ถ้ามีก็อาจจะเป็นเคสที่น้อยมาก การมียอดขายที่ดีก็เป็นเรื่องหนึ่ง เราต้องมาดูอีกว่า “ตัวที่ขายทุกตัว” แต่ละตัวเราใช้ทรัพยากรเยอะแค่ไหน ทรัพยากรด้านคน ด้านเวลา กำไรเท่าไหร่ 

บางตัวถ้าดูกันดีๆ อาจจะ “ยิ่งขาย ยิ่งขาดทุน” บางตัวขายดีไปเรื่อยๆ ก็ขาดทุนไปเรื่อยๆ 

การเลือกวัสดุ หรือใช้วิธีแบบ Lean :

บรรจุภัณฑ์บางอย่างถ้าออกแบบให้ดี ให้สามารถขนย้ายได้ทีละจำนวนเยอะๆ ก็จะเป็นการลดต้นทุนได้เช่นกัน หรือแม้แต่สินค้าบางอย่าง ก็อาจจะไม่ต้องใช้บรรจุภัณฑ์เลย เช่น สบู่แบรนด์ Lush 

วิธีคิดแบบ Lean สั้นๆ เลยก็คือ อย่าผลิตสินค้ามากเกินความจำเป็น อย่าสต๊อกสินค้าเยอะ การขนส่งใช้อะไรเป็นเชื้อเพลิงบ้าง เราพอจะลดต้นทุนตรงนี้ได้ไหม? เครื่องจักรที่ลงทุนมันคุ้มกับผลผลิตหรือเปล่า

วิธีคิดเรื่องพื้นที่สำหรับการผลิต / พื้นที่ของการทำงาน :

บางครั้งพื้นที่การผลิต หรือค่าเช่าที่ในการขายสินค้า อาจจะทำให้เราใช้ต้นทุนที่ค่อนข้างเยอะ ต้องมานั่งพิจารณากันดีๆ ว่า เราจำเป็นที่จะต้องใช้ต้นทุนที่เยอะจริงๆ หรือเปล่า?

ถ้าเราเขยิบย้ายทำเลไปหน่อย อาจจะจ่ายค่าเช่าได้ในราคาที่ถูกลง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องดูด้วยว่า ถ้าย้ายไปแล้วจะไกลจากกลุ่มลูกค้าเดิมมากน้อยแค่ไหน ส่งผลต่อยอดขายด้วยหรือเปล่า 

จริงๆ ถ้าเรามีจุดขาย Core Value ที่หาจากธุรกิจอื่นได้ยาก ทำเลไม่ดี ไกลแค่ไหนคนก็จะตามไปอยู่ดี เรื่องของสถานที่ก็อาจจะถูกลดความสำคัญลงไป

ถ้าในแง่ของการเช่า Co-Working Space ในการนั่งทำงาน หลายคนก็อาจจะลดด้วยการ Work Form Anywhere แล้วกำหนดว่าจะประชุม อาทิตย์ละกี่วัน ซึ่งก็เป็นสิ่งที่หลายองค์กรน่าจะกำลังทำอยู่เยอะ ตัด Process หรืออุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นให้เหลือสิ่งที่จำเป็นมากขึ้น

อะไรคือสิ่งที่หลายบริษัทกำลังลงทุนเพิ่ม

อีกหนึ่ง Research ที่น่าสนใจจาก McKinsey เป็น Research ที่เพิ่งออกมาในเดือนนี้ (มิถุนายน) ซึ่งก็ได้พูดถึงตัวเลขการลด Cost และการลงทุนของหลายบริษัทในช่วงนี้ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ จากบทความที่ชื่อว่า Reset and reallocate: SG&A in the next normal 

สิ่งที่คนกำลังทุนเพิ่มมี 3 อย่างคือ 

1.Cyber security ความปลอดภัยด้านไซเบอร์ 43%
2.การโฆษณาทางสื่อ Digital 39%
3.ลงทุนในตระกูล Software และ Hardware 37%

ในระยะยาว สิ่งเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะช่วยเพิ่มยอดขาย หรือลดความเสียหายได้ดี เพราะถ้าหากเราไม่ใส่ใจในเรื่อง Digital หรือการลงทุนเล็กๆ น้อย เราอาจจะ “ได้ไม่คุ้มเสีย”

และใครที่กำลังต้องการลดต้นทุนเรื่อง Supply หรืออุปกรณ์ Hardware ต่างๆ ที่ใช้ในบริษัท Solution นี้ น่าจะเป็นทางออกที่ดี

สมัยก่อนการจะมีอุปกรณ์ Hardware ในองค์กร เรามีทางเลือกเดียวคือ “การซื้อ” แต่สมัยนี้มีอีกทางเลือกหนึ่งคือ “การ Subscribe” หรือพูดง่ายๆ ก็คือโปรแกรมการเช่าซื้อ ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุน ไม่ต้องจ่ายเงินสดก้อนใหญ่ และเอาเงินในส่วนนี้ไปพัฒนาในส่วนอื่นได้อีก

ทางด้าน HP ได้ออกโปรแกรม HP Subscription หรือ โปรแกรมเช่าซื้อ-เช่าใช้ รายเดือน สำหรับผู้ประกอบการ SME-Startup โดยให้เช่าใช้-เช้าซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ตั้งแต่ Laptop / จอภาพ / Printer / แพกเกจ Software / และการบริการจากเจ้าที่ผู้เชี่ยวชาญแบบ on-site service ตลอดสัญญา ครบวงจร

Product ที่เป็น Hardware จะเน้นเป็นแบบเช่าใช้ เพราะไม่กี่ปีสิ่งที่เป็น Hardware ก็มักจะตกรุ่นไว โดยราคาเริ่มต้นแค่หลักร้อยบาทต่อเดือน เพียงเท่านี้ก็มีอุปกรณ์คุณภาพและบริการจาก HP ได้ 

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของ HP Subscription ได้ที่ https://bit.ly/2Y6IgrW หรือ โทร. 02-021-5559

สรุปสั้นๆ ปิดท้าย

  1. มองเรื่อง Cashflow และบาลานซ์สินค้ากับสถานการณ์ภายนอกก่อนผลิต ถ้าไม่อยากสร้างหนี้เพิ่ม
  2. สิ่งที่ช่วยลด Cost การตลาดได้ดี ต้องเริ่มจากการฟังเสียงลูกค้าเดิม ไปพร้อมๆ กับจับ Trend ให้ได้
  3. ปรับ Model บางอย่าง และมองหาต้นทุนแฝง
  4. การลดต้นทุนที่ดี ไม่จำเป็นต้องตัดงบในทุกภาคส่วนของธุรกิจ แต่เปลี่ยนไปโฟกัสเรื่องของโครงสร้างองค์กร Process การผลิต หรือลงทุนในบางอย่าง ที่จะส่งผลต่อภาพใหญ่ขององค์กรมากกว่า

เรื่องทั้งหมดนี้ เราจะต้องคิดและทำกันอย่างรวดเร็ว ถ้าเรื่องการเงิน เราออกแบบได้ไม่ดี ยิ่งเวลาผ่านไป มันจะยิ่งฟื้นกลับมาได้ยาก…

Advertisements

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่