BUSINESS“รู้ว่าเมื่อไหร่ควรปล่อย” บทเรียนความสำเร็จจาก Stewart Butterfield CEO แห่ง Slack

“รู้ว่าเมื่อไหร่ควรปล่อย” บทเรียนความสำเร็จจาก Stewart Butterfield CEO แห่ง Slack

หากเราพูดถึงธุรกิจและนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ เรามักจะได้ยินเรื่องราวที่เริ่มต้นจาก หนึ่ง.. การมีไอเดียสุดล้ำ สอง.. การลองทำจริง สาม.. การพยายามอย่างไม่ย่อท้อ และสี่.. การประสบความสำเร็จ เป็นสเต็ปหนึ่ง สอง สาม สี่ ราวกับว่าการทำธุรกิจนั้นมีขั้นตอนเรียบง่ายดังนี้

ทั้งๆ ที่จริงมันยุ่งเหยิงยิ่งกว่านั้น
กว่าธุรกิจจะโด่งดังเป็นพลุแตกได้ เบื้องหลังนั้นเต็มไปด้วยความล้มเหลว การโต้เถียง ความผิดหวัง และที่ยากที่สุด คือ การยอมรับว่าไอเดียของเรามันไม่เวิร์กและ “ยอมแพ้”

ในบทความนี้เราจะพาทุกคนไปเรียนรู้ว่า หลักสูตรความสำเร็จไม่ได้ประกอบด้วยการดันทุรังเสมอไป ผ่านบทเรียนธุรกิจจาก Stewart Butterfield CEO แห่ง Slack ผู้ที่ต้องปล่อยมือจากไอเดียสุดรักหลายครั้งกว่าจะประสบความสำเร็จอย่างทุกวันนี้

กว่าจะเป็นSlack

ประโยคที่ว่า “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น” ไม่ได้เป็นจริงเสมอไป และ Stewart Buttefield เข้าใจเรื่องนี้ดี

ณ คืนหนึ่งของเดือนพฤศจิกายน ปี 2012 เขาในวัย 39 ที่เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทสตาร์ตอัปผู้ผลิตเกมแห่งหนึ่ง ซึ่งมีทั้งผู้ใช้งานจำนวนหนึ่งและเงินหลายล้านเหรียญในบัญชี ได้แต่พลิกตัวไปมาเพราะนอนไม่หลับ ก่อนจะตัดสินใจทำเรื่องที่หลายคนอาจมองว่า “บ้า” และหลายคนอาจมองว่า “กล้าหาญ” ที่สุด

เขาตัดสินใจเลิกทำ
หลายคนอาจสงสัยว่า.. เพราะไม่มี Passion หรือเปล่าจึงตัดสินใจทิ้งได้ง่ายๆ เช่นนี้? เปล่าเลย เกมเป็นสิ่งที่ Stewart รักและใฝ่ฝันอยากจะทำมันมากๆ

บริษัทแรกของเขาในปี 2002 ก็มุ่งพัฒนาเกมเช่นกัน โดยเป็นเกมแนวหลายผู้เล่นที่สามารถเล่นได้บนเว็บไซต์ อย่างไรก็ตาม ดูท่าทางเกมนี้จะไปได้ไม่สวยนัก เขาจึงต้องเลิกทำ

ตอนนั้นเขาและทีมนำโครงสร้างไปพัฒนาต่อจนกลายเป็นเว็บไซต์แบ่งปันรูปภาพที่ชื่อ Flickr ซึ่งต่อมาในปี 2005 ถูก Yahoo ซื้อกิจการไป

ในปี 2009 Stewart และทีมลาออกจาก Yahoo เพื่อกลับมาทำตาม “ความฝัน” อีกครั้ง ซึ่งก็คือการสร้างเกมนั่นเอง โดยครั้งนี้ยังเป็นเกมแนวหลายผู้เล่นที่สามารถเล่นได้บนเว็บไซต์เช่นเดิม ที่เพิ่มเติมคือพวกเขามีประสบการณ์และทรัพยากรมากขึ้นกว่าครั้งก่อน

โชคร้ายที่แม้จะพร้อมแค่ไหน แต่เทรนด์ ณ ตอนนั้นกลับไม่เอื้อนัก เพราะผู้เล่นสมัยนั้นหันจากการเล่นเกมบนคอมฯ มาเล่นบนแอปฯ ในโทรศัพท์มากขึ้น แม้การพัฒนาเกมจะเป็นงานในฝัน แต่เมื่อคำนวณแล้วกลับพบว่ามันไม่คุ้มค่าที่จะลงทุนต่อ
ปี 2012 จึงเป็นอีกครั้งที่พวกเขาต้องยกธงขาว

ก้าวสู่Slackบริษัทที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดในยุคโควิด

ไม่ใช่ทุกการยอมแพ้คือความสูญเสียเสมอไป ในการล้มเลิกเกมครั้งแรก พวกเขาก็สามารถนำโครงสร้างเดิมไปพัฒนาต่อเป็นเว็บไซต์รูป Flickr ได้ ในครั้งที่ 2 ก็เช่นกัน พวกเขานำห้องแช็ตที่สร้างขึ้นเพื่อประสานงานภายใน ไปพัฒนาต่อเป็นแอปฯ สื่อสารกันภายในองค์กร ชื่อ “Searchable Log of All Communication and Knowledge” หรือ “Slack” นั่นเอง

Slack เปิดตัวในปี 2014 เข้าตลาดหลักทรัพย์ในปี 2019 ณ ตอนนั้นพวกเขามีพนักงานกว่า 2,000 คนและลูกค้ากว่า 100,000 คนทั่วโลก ถือว่าเป็นความสำเร็จที่น่าประทับใจทีเดียวสำหรับบริษัทสตาร์ตอัป

โอกาสเติบโตยังไม่หมดแค่นั้น เพราะเมื่อโควิด-19 ระบาดในปี 2020 และประชากรเกือบทั่วทั้งโลกต้องทำงานจากบ้าน เครื่องมือที่ใช้สื่อสารในการทำงานเช่น Slack กลายมาเป็นที่ต้องการอย่างมาก จนพวกเขามีลูกค้ามากมายและถูกบริษัท Salesforce เข้าซื้อกิจการในปี 2020 ด้วยราคา 27.7 ล้านเหรียญ

Advertisements

ยอมปล่อยมือ” ทักษะที่ยากแต่สำคัญต่อการบริหารธุรกิจ

บทเรียนจาก Stewart Butterfield และ Slack เป็นเพียงหนึ่งกรณีศึกษาจากหนังสือ “Quit” ของ Annie Duke เท่านั้น ยังมีตัวอย่างอีกมากมายที่พูดถึงทักษะการลาออกหรือล้มเลิกในหนังสือของเธอ

Annie Duke อดีตนักศึกษาปริญญาเอก ด้านจิตวิทยาการรู้คิด (Cognitive Psychology) แห่งมหาวิทยาลัย Pensylvania และอดีตนักเล่นโป๊กเกอร์มืออาชีพ ที่ตอนนี้ทำงานเป็นนักยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเป็นหลัก มองว่าการตัดสินใจล้มเลิกอะไรบางอย่าง ไม่เพียงแค่ “ยาก” และ “เข้าใจยาก” แต่ยังเป็นทักษะที่ “สำคัญมากที่สุด” ในการบริหารธุรกิจอีกด้วย

ส่วนสาเหตุที่การเลิกทำไม่ใช่เรื่องง่าย หลักการทางจิตวิทยาอย่าง “Loss Aversion” และ “Sunk Cost” ได้อธิบายไว้ให้เข้าใจง่ายๆ ว่า มนุษย์เราไม่ชอบการสูญเสีย และเราให้ความสำคัญอย่างมากกับเวลาและแรงที่ลงทุนไปแล้ว

อย่างไรก็ตาม หากเราอยากประสบความสำเร็จในโลกธุรกิจ เราต้องรู้ทันหลักจิตวิทยาเหล่านี้ มองโลกตามความเป็นจริง และกล้าตัดสินใจปล่อยเมื่อถึงเวลาที่ควรต้องปล่อย เหมือนกับที่ Stewart Butterfield CEO แห่ง Slack ต้องปล่อยบริษัทเกมของตัวเองไปถึง 2 ครั้งนั่นเอง

แต่ว่าจะรู้ได้อย่างไรล่ะว่า “เมื่อไหร่” คือเวลาที่ควรปล่อย? Annie บอกไว้ว่าตัวเราเองต้องเป็นคนฝึกเอง ผ่านการตัดสินใจซ้ำๆ หรืออีกวิธีที่ช่วยได้คือ การมีใครสักคนที่ไว้ใจคอยพูดตรงๆ คอยบอกให้เราปล่อยมือในวันที่เราอยากยื้อ

อาจฟังดูยากและเสี่ยง แต่เชื่อเถอะว่าวันหนึ่งการตัดสินใจ “ล้มเลิก” “ปล่อยมือ” หรือ “ลาออก” จากสิ่งที่ไม่ใช่ จะเป็นการตัดสินใจที่คุ้มค่าที่สุดในชีวิตเรา

อ้างอิง
Business Lessons From the World’s Best Quitters : https://on.wsj.com/3TfIO8Z
The CEO of Slack on Adapting in Response to a Global Crisis : https://bit.ly/3TD3MyI

#Entrepreneurship
#business
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast

Advertisements

 

 

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า