BUSINESSยังฟังกันอยู่ไหม? "SoundCloud" แพลตฟอร์มฟังเพลงในตำนาน

ยังฟังกันอยู่ไหม? “SoundCloud” แพลตฟอร์มฟังเพลงในตำนาน

ในบทความนี้จะพาย้อนอดีตไปดูว่าธุรกิจของ SoundCloud เริ่มมาได้อย่างไร ประสบความสำเร็จได้อย่างไร และจะไปรอดไหมในยุคที่คู่แข่งเยอะขนาดนี้?!

แพลตฟอร์มโปรดในการฟังเพลงและฟังพอดแคสต์ของแต่ละคนคืออะไรบ้าง? Spotify, Apple Music, หรือ Youtube?

ในยุคปัจจุบันที่เรามีแพลตฟอร์มฟังเพลงมากมาย ผู้บริโภคสามารถเลือกได้ตามใจชอบ โดยดูจากหน้าตาของแอปฯ ราคา ไปจนถึงความหลากหลายของเพลง แน่นอนว่านอกจากแพลตฟอร์มยอดฮิตที่กล่าวไป ก็ยังมีอีกหลายเจ้า เช่น Tidal, Amazon Music, Deezer, และเจ้าที่คนนิยมในไทยอย่าง Fungjai และ JOOX

แต่ถ้าหากย้อนเวลาไปก่อนหน้านั้นเราฟังเพลงจากไหนกัน?

คำตอบของหลายๆ คนคงจะเป็นแพลตฟอร์มสีส้มที่คุ้นหน้าค่าตาดีอย่าง “SoundCloud”

ในบทความนี้จะพาย้อนอดีตไปดูว่าธุรกิจของ SoundCloud เริ่มมาได้อย่างไร ประสบความสำเร็จได้อย่างไร และจะไปรอดไหมในยุคที่คู่แข่งเยอะขนาดนี้?!

แต่ก่อนจะไปอ่านบทความ Mission To The Moon ขอฝากกดติดตามอีกช่องทางของเราบน SoundCloud ด้วยนะ: https://bit.ly/3z6ZDMu

FB รู้จัก SoundCloud

จุดเริ่มต้นของ SoundCloud สตาร์ทอัปเล็กๆ ของเด็กมหาลัย

“ไม่ว่าคุณจะเป็นนักร้องดังอย่าง ฟิฟตี้เซ็นต์ มาดอนน่า หรือจะเป็นคนเดินดินธรรมดาๆ คุณก็สามารถมุ่งสร้างสรรค์ในหลากหลายรูปแบบได้ ซึ่งนี่แหละที่ผมรู้สึกว่าเป็นความแตกต่างของเรา” อเล็กซ์ ยุง หนึ่งในผู้ก่อตั้ง SoundCloud กล่าว

SoundCloud เริ่มจากการเป็นโปรเจกต์สตาร์ทอัปเล็กๆ ของเด็กมหาวิทยาลัย อเล็กซ์ ยุง และอีริก วาลห์ฟรอสส์ ได้ก่อตั้งแพลตฟอร์มที่ผู้ใช้งานสามารถอัปโหลดเพลง อัดเสียง โปรโมตเพลง และแบ่งปันผลงานได้อย่างอิสระ ด้วยความตั้งใจในการสนับสนุนให้ทุกคนเป็น “นักสร้างสรรค์” (Creator) โดยเฉพาะในการแสดงออกผ่านดนตรีและเสียงเพลง

ในปี 2007 SoundCloud ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น และประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามในเวลาต่อมา ในปี 2011 มีผู้สมัครใช้งานเว็บไซต์ถึง 7.5 ล้านคน จนแมรี มีเกอร์ กูรูด้านการวิเคราะห์การลงทุนแห่ง Wall Street เอ่ยปากชมว่า สิ่งนี้แหละจะเป็น​ “The Next Big Thing” หรือเทคโนโลยีอันยิ่งใหญ่แห่งอนาคต

Advertisements

สู่ยุคทองของ SoundCloud

จากผู้ใช้งาน 15 ล้านคนในปี 2012 ได้เพิ่มเป็น 150 ล้านคนในปี 2015 ในช่วงทศวรรษนี้ถือเป็นยุคทองของ SoundCloud เลยก็ว่าได้ โดยบริษัททำรายได้สูงถึง 166 ล้านเหรียญในปี 2019

ทำไม SoundCloud ถึงเป็นที่นิยมเช่นนี้?

หากพูดถึงแพลตฟอร์มที่ช่วยเหลือศิลปินหน้าใหม่ๆ ให้เริ่มต้นเส้นทางอาชีพได้ ก็ต้องยกให้ SoundCloud เพราะผู้ใช้งานแบบฟรีสามารถอัปโหลดไฟล์เสียงได้มากถึง 180 นาทีบนโปรไฟล์ของตัวเอง แถมยังฟังเพลงได้อย่างไม่จำกัดอีกด้วย

เพลงที่อัปโหลดมีลิงก์ให้กดแชร์ต่อกันโดยสะดวก และเราสามารถสร้างกลุ่มของเราขึ้นมาได้ ทำให้หลายๆ คนมีชุมชนออนไลน์เล็กๆ ของคนที่ชอบเพลงสไตล์เดียวกัน อีกฟีเจอร์ที่น่าสนใจคือ ผู้ใช้งานสามารถคอมเมนต์ตรงช่วงเวลาไหนก็ได้ของเพลง ทำให้ผู้ใช้คนอื่นๆ เห็นได้ชัดว่าท่อนไหนของเพลงที่เราชอบเป็นพิเศษ

ศิลปินรายย่อยที่ไม่ได้อยู่ในสังกัดค่ายใหญ่ๆ มีโอกาสทำเงินได้ก็เพราะ SoundCloud เช่นกัน โดยพวกเขาอนุญาตให้ศิลปินสร้างรายได้ (Monetize) จากการที่ผู้ฟังคนอื่นๆ เข้ามาฟังผลงานของตัวเอง โดยราคาจะเริ่มตั้งแต่ 0.0025-0.004 เหรียญต่อการกดฟัง 1 ครั้ง เท่ากับว่าหากมีการกดฟังเพลง 1000 ครั้ง ศิลปินจะได้เงินประมาณ 2.5 ถึง 4 เหรียญ แม้จะไม่ใช่เงินจำนวนมาก แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของศิลปินหลายคน

Advertisements

ใครบ้างที่ประสบความสำเร็จเพราะ SoundCloud

มีนักร้องดังหลายคนที่ดังได้เพราะ SoundCloud เช่น JuiceWRLD, XXXTentacion, Lil Pump, และ Post Malone

อย่าง Post Malone เองก็เริ่มจากการโพสต์เพลง ‘White Iverson’ บน SoundCloud ของเขาในต้นปี 2015 หลังจากนั้นเพลงนี้ก็เป็นที่นิยมอย่างมาก มีคนกดฟังมากกว่า 1 ล้านครั้งภายใน 1 เดือน ทำให้ค่ายเพลงหลายค่ายเริ่มเห็นความสามารถและเซ็นสัญญากับเขาในที่สุด

ปัญหาที่ตามมาและอนาคตของ SoundCloud

แน่นอนว่าด้วยความเป็นแพลตฟอร์มน้องใหม่ในยุคนั้น SoundCloud ก็ได้ทดลอง Business Models อยู่หลายแบบด้วยกัน​ เช่น การเริ่มมีคอนเทนต์โฆษณา หรือ การเก็บเงินตามจำนวนเพลงที่อัปโหลด เป็นต้น โชคร้ายที่ตัวเลือกของบริษัทอาจไม่ถูกใจศิลปินและผู้ฟังนัก ส่งผลให้ความนิยมของ SoundCloud เริ่มลดลงเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน

ผู้ใช้งานจำนวนหนึ่งที่ให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร The Verge บอกว่าปัญหาจริงๆ เริ่มตั้งแต่ปี 2012 เมื่อมีฟีเจอร์ ‘รีโพสต์’ เกิดขึ้น ประกอบกับความนิยมที่ดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้มาใช้งาน การติดตามศิลปินและค้นพบเพลงใหม่ๆ จากหน้าฟีดกลายเป็นเรื่องยาก เพราะหลายคนเริ่มกดรีโพสต์เพลงเดิมซ้ำๆ (เช่น ศิลปินที่อยากโปรโมตเพลงของตนเอง) การสแปมกลายมาเป็นปัญหากวนใจของผู้ใช้งานจำนวนมาก

อีกปัญหาก็คือ SoundCloud ไม่มีความสามารถในการจัดการกับบอตส์ (Bots) หรือผู้ใช้งานปลอม ศิลปินบางคนบูสต์เพลงของตัวเองด้วยยอดผู้ฟังปลอมๆ ทำให้ ‘เพลงที่คนฟังเยอะ’ ไม่ใช่ ‘เพลงที่ดี’ หรือ ‘เพลงที่คนนิยม’ อีกต่อไป

ปัญหาเรื้อรังเหล่านี้ทำให้ผู้ใช้งานจำนวนมากหันไปฟังเพลงจากแพลตฟอร์มอื่น อย่าง Spotify และ Youtube แทน

แต่อนาคตของ SoundCloud ก็ไม่ได้มืดมนเสียทีเดียว แม้ปัจจุบันจะมีผู้ใช้งานไม่มากเช่นเดิม หลายๆ คนก็ยังแนะนำ SoundCloud ในฐานะจุดเริ่มต้นของศิลปินฝึกหัด หรือ พอดแคสเตอร์มือใหม่ อีกทั้งทางบริษัทเองก็พยายามอย่างมาก ในการพัฒนาแพลตฟอร์มให้แข่งขันกับแพลตฟอร์มอื่นๆ ในตลาดได้ อย่างในปี 2022 นี้ก็ได้มีการออกแคมเปญ “First on SoundCloud” แนะนำศิลปินหน้าใหม่คุณภาพดีจาก SoundCloud เพื่อดึงดูดเหล่าศิลปินรายย่อยและผู้ฟังอีกครั้ง

รู้จักกับเรื่องราวธุรกิจของ SoundCloud มากขึ้นแล้วใช่ไหม? หากใครยังใช้งาน SoundCloud อยู่ หรือสนใจอยากจะลองใช้งานบ้าง อย่าลืมกดติดตาม Mission To The Moon ด้วยนะ! ลองเปลี่ยนบรรยากาศไปดูกันบ้างว่า พอดแคสต์ที่เป็นที่นิยมของผู้ฟังบน SoundCloud จะเป็นอย่างไรบ้าง


อ้างอิง:
https://bit.ly/3wZNN5l
https://bit.ly/3NJYiiq
https://bit.ly/3lY62By

#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#business

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Tanyaporn Thasak
Tanyaporn Thasak
ผู้โดยสารคนหนึ่งบนยาน Mission To The Moon ที่หลงใหลในวรรณกรรม ภาพยนตร์ บทกวี การอ่าน การเขียน และการนอน

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า