Mission To The Moon X SKY ICT
ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามาเป็นหนึ่งเดียวกับชีวิตคน ไม่ใช่แค่การใช้ชีวิตของเราเท่านั้นที่ต้องปรับเปลี่ยนไป แต่ “เมือง” ของเราก็ต้องปรับตัวด้วยเช่นกัน ปัจจุบันนี้เราจึงได้ยินคำว่า Smart City กันอยู่บ่อยๆ ซึ่งกลายมาเป็นเทรนด์สำคัญของโลกที่ขับเคลื่อนไปด้วยความเป็นดิจิทัล
Mission To The Moon จึงมาพูดคุยกับ คุณขยล ตันติชาติวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการตลาด บริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) หรือ SKY – Tech Company รุ่นใหม่ ที่เชี่ยวชาญด้าน AI Solutions และเทคโนโลยีความปลอดภัย ถึงทิศทางของ Smart City ของทั้งประเทศไทยและทั่วโลกกับการใช้ชีวิตของผู้คนที่สมาร์ตและปลอดภัย มาติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจนี้ไปพร้อมๆ กัน
เข้าใจ ‘Smart City’ การเป็นเมืองที่ดีไม่ได้มีแค่เทคโนโลยีเท่านั้น
Smart City หรือ เมืองอัจฉริยะ ประกอบไปด้วย 7 แกนหลักสำคัญ โดย 3 อย่างแรก หรือ 3E ประกอบด้วย Environment, Energy และ Economy ซึ่งเป็นสิ่งที่จะขับเคลื่อนประเทศไปให้ไกล และอีก 4 อย่าง ประกอบด้วย Governance, Living, Mobility และ People ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศไทยกำลังสนใจและเริ่มให้ความสำคัญ เช่น การสร้างเมืองต้นแบบอย่างภูเก็ตให้เกิดเป็น Smart City ขึ้นมา
ทั้งนี้ พื้นฐานของ Smart City ในระดับโลกคือ การวางระบบเรื่องของการจัดการความปลอดภัยในเมือง เช่น ลอสแอนเจลิส นิวยอร์ก ลอนดอน และปักกิ่ง เมืองเหล่านี้มีระบบกล้องวงจรปิดภายในเมือง หากเกิดเหตุอะไรขึ้น ตำรวจหรือหน่วยงานราชการจะสามารถดูกล้องวงจรปิดและจัดการกับปัญหาได้ทันท่วงที
ในขณะเดียวกันเมืองต่างๆ ก็ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมไปด้วย ผ่านการออกแบบ Smart Building ที่ทุกอย่างภายในตึกถูกควบคุมด้วยเทคโนโลยี AI และภายนอกมีเซนเซอร์วัดสภาพอากาศ สภาพสิ่งแวดล้อม มีการประเมินระหว่างภายนอกและภายในให้ทำงานร่วมกัน ทำให้คนทั้งนอกและในอาคารก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างสมาร์ต
นอกจากนี้ บางประเทศอย่างเช่น ประเทศจีน นั้นให้ความสำคัญไปถึงเรื่อง People แล้ว เช่น การใช้ใบหน้าในการเข้าออกสถานที่สำคัญ การทำธุรกรรมทางการเงิน Fintech หรือสิงคโปร์ ที่ให้ความสำคัญกับการจัดการของหน่วยงานราชการทั้งหมดด้วย Database ที่เชื่อมกันในหน่วยงานกลาง สามารถควบคุมทั้งเมืองได้ ให้มีความปลอดภัย ความสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สิ่งเหล่านี้คือเทรนด์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ข้อดีของ Smart City ต่อวิถีชีวิตของคนในเมือง
Smart City มีส่วนช่วยยกระดับชีวิตของผู้คนในหลายๆ ด้าน เช่น ช่วยให้ผู้คนลดความเครียดจากการเดินทางได้ เพราะสามารถลดระยะเวลาในการเดินทาง และทำให้เรามองเห็นระยะเวลาการเดินทางล่วงหน้าว่าจะใช้เวลาเท่าไหร่ หรือเห็นสภาพแวดล้อมของเมืองได้
นอกจากนี้ หลายประเทศยังมีข้อความเตือนภัยต่างๆ (Emergency Alerts) เช่น ญี่ปุ่น มีการติดเซนเซอร์เตือนภัย โดยการใช้เทคโนโลยีคาดการณ์เหตุการณ์ทางธรรมชาติล่วงหน้าได้ แต่ก็ต้องยอมรับว่าประเทศไทยยังห่างจากจุดนั้นค่อนข้างมาก เพราะตอนนี้เรายังรวมศูนย์ในการยืนยันตัวตนด้วยการใช้บัตรประชาชนเท่านั้นเอง แต่ต่างประเทศได้ทำผ่านแอปฯ หมดแล้ว และทำเป็นรายวัน หน่วยงานต่างๆ สามารถสื่อสารกับประชาชนได้ตลอดเวลา ไม่ต้องรอให้ภัยเกิดแล้วถึงแจ้งเตือนอย่างเดียว ทำให้ประชาชนไว้ใจ เกิด ความมั่นใจว่าหน่วยงานรัฐกำลังดูแลความปลอดภัยให้กับเราอยู่
ประเทศไทยกับจุดเริ่มต้นในการเป็น Smart City
ประเทศไทยเอง เราคงได้ยินชื่อเมืองสำคัญๆ ที่กำลังพัฒนาสู่การเป็น Smart City อย่างเช่น ภูเก็ต Smart City ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่พึ่งพาเรื่องการท่องเที่ยว และภูเก็ตก็เป็นเมืองสำหรับการท่องเที่ยวอย่างชัดเจน ดังนั้น การเริ่มต้นพัฒนาเรื่องการท่องเที่ยวก่อนถือเป็นเรื่องที่ถูกต้อง
ภูเก็ตมี Travel Platforms ที่ใช้ในการติดตามนักท่องเที่ยวตั้งแต่สนามบิน ในช่วงโควิด-19 ก็สามารถติดตามนักท่องเที่ยวแต่ละคนได้ ตรวจสอบการเข้าพักโรงแรม และมีแอปพลิเคชันของเมืองเอง ซึ่งไม่ได้แค่ตอบโจทย์กับนักท่องเที่ยวเท่านั้น แต่ประชาชนยังได้ประโยชน์ด้วย เช่น การทำบัตรประชาชน กล้องวงจรปิดรวมศูนย์ ให้หน่วยงานจัดการด้านความปลอดภัย ทำให้ทุกคนได้รับความปลอดภัย รู้สึกอุ่นใจ กล้าจะมาท่องเที่ยวในจังหวัด ดังนั้น ภูเก็ต ถือว่าเป็นพื้นฐานของการพัฒนาที่ดี เมืองอื่นๆ สามารถนำมาใช้ได้เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะกับกรุงเทพฯ
ส่วนเมืองศูนย์กลางอย่างกรุงเทพฯ ก็เป็นอีกเมืองที่มีศักยภาพในการก้าวสู่การเป็น Smart City ได้ เพราะตึกอาคารที่นี่ได้รับการพัฒนาแล้วเพียงแต่ยังไม่ได้นำ Database มาเชื่อมต่อกัน ดังนั้น เราต้องเริ่มจากรู้ว่าเทคโนโลยีแบบไหนสามารถพัฒนาเมืองได้ ซึ่งพื้นฐานของเมืองใหญ่ๆ ในประเทศไทยต้องเริ่มพัฒนาจากระบบรักษาความปลอดภัยก่อนเป็นอันดับแรก หลังจากนั้นจะสามารถต่อยอดกับสิ่งอื่นๆ ได้อย่างแน่นอน
และในส่วนของระบบความปลอดภัย หากประเทศไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงและมีเซนเซอร์เตือนภัยที่สามารถบอกหน่วยงานต่างๆ ได้ เช่น ถ้ารู้ปริมาณของน้ำ เขื่อน ปริมาณฝนที่ตกมาในแต่ละวัน ก็จะทำให้สามารถคาดการณ์ได้ว่าน้ำจะท่วมไหม ทำให้ประชาชนสามารถวางแผนล่วงหน้าได้ และเกิด Smart Living & Safety ในทุกแกนสำคัญล้วนเกี่ยวข้องกันจนเกิดเป็น Smart City สู่ Smart Country ได้ในที่สุด
“TOSSAKAN” แพลตฟอร์มจาก SKY ICT กับการดูแล Smart Security เพื่อการเป็น Smart City
SKY ICT เป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีที่ดูแลเกี่ยวกับ Security System มาโดยตลอด จึงมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัย ซึ่งสิ่งที่เราต้องการทำให้ดีกว่าเดิมคือเรื่อง “กล้องวงจรปิด” ที่จะไม่ใช่แค่การดึงภาพมาดู แต่ต้องสามารถประมวลผลข้อมูลออกมาได้ โดยใช้ AI เข้ามาช่วยเพิ่มศักยภาพกับระบบดังกล่าวนี้ได้
โดยจุดเด่นของ SKY ICT คือ การมีทีม Data Scientist ที่มีความเชี่ยวชาญด้าน AI สร้างอัลกอริทึมที่เข้ากับสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยขึ้นมา ทำให้เห็นข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ประกอบกับ ศูนย์สั่งการด้านความปลอดภัย (Security Operation Center) ด้วยการทำงานแบบรวมศูนย์ พร้อมปฏิบัติการและระงับเหตุแบบเรียลไทม์ตลอด 24 ชั่วโมง
เราพัฒนาระบบมาจนได้แพลตฟอร์มที่ชื่อว่า “TOSSAKAN” ซึ่งไม่ได้เป็นแค่ระบบกล้องวงจรปิดหรือ AI Software เท่านั้น แต่เราทำให้เป็นแอปฯ และเว็บไซต์ให้เข้าไปสู่ภาคเอกชนได้ ทั้งหน่วยงานใหญ่และหน่วยงานเล็กในภาคธุรกิจที่ต้องการความปลอดภัยก็สามารถนำ TOSSAKAN ไปปรับใช้กับธุรกิจตัวเองได้เช่นเดียวกัน
หลักการทำงานของ TOSSAKAN คือ เมื่อเราติดตั้ง AI เข้าไป มันจะสามารถแจ้ง Intrusion Alert ได้ เราก็สามารถสอน AI ได้ว่า ช่วงเวลาใดที่ไม่ควรมีคนผ่าน เช่น โรงเรียนแห่งหนึ่ง ไม่ควรมีคนผ่านรั้วโรงเรียนเข้ามาในเวลากลางคืน แต่เมื่อไรก็ตามที่มีคนเดินเข้ามาในช่วงเวลาที่เรากำหนดว่าห้ามผ่านรั้ว มันจะเกิด Trigger และแจ้งมาที่ศูนย์ SOC ของ SKY ICT ให้เราตรวจสอบ ถ้าพบว่าเป็นเหตุการณ์ผิดปกติก็จะแจ้งตำรวจทันที เพราะเราดูแลแบบ End-to-End ตั้งแต่ติดตั้งจนถึงการแจ้งเหตุไม่ปลอดภัย ซึ่งถือว่าเป็นจิ๊กซอว์ตัวสุดท้ายที่มาเติมเต็มเมื่อเกิดเหตุบุกรุกต่างๆ นั่นคือ การแจ้งไปที่หน่วยงานรักษาความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง
เพราะแต่เดิมเมื่อเกิดเหตุร้ายมันมีช่องว่างหนึ่งคือ ช่วงเวลาที่เกิดขึ้นกับเวลาที่เจ้าหน้าที่รู้ แต่เมื่อเราได้รับการแจ้งเตือนและเราติดต่อไปที่หน่วยงานนั้นๆ ทันทีทันใด มันจึงเป็นการปิดช่องว่างของระบบรักษาความปลอดภัยให้แก่องค์กร ความปลอดภัยที่เกิดสามารถนำมาใช้ได้ทั้งตึกอาคารสำนักงาน โครงการที่อยู่อาศัย โรงแรม โรงงานอุตสาหกรรม โรงเรียน โรงพยาบาล หรือห้างสรรพสินค้าก็ได้
นอกจากนี้ ถ้าเราต้องการดูเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นไปแล้ว เราไม่จำเป็นต้องเสียเวลาในการย้อนดูกล้องวงจรปิด เพียงแต่เลือกดูข้อมูลเฉพาะเจาะจงได้เลย เช่น คุณลักษณะ เพศ สีเสื้อผ้า เป็นต้น การทำงานของกล้อง AI CCTV จะสามารถตรวจจับภาพเหล่านั้นขึ้นมาให้เห็นบนหน้าจอว่าลักษณะดังกล่าวผ่านกล้องตัวไหนตรงไหนบ้าง และยังสามารถเช็กได้ด้วยว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้างในแต่ละวันด้วย Dashboard ซึ่ง SKY ICT ได้นำสิ่งเหล่านี้มาปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์กับภาคธุรกิจได้ เมื่อทุกภาคส่วนเริ่มใช้งานก็จะสามารถเชื่อมต่อกันเกิดเป็น Smart City ได้
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2ZpBVec หรืออีเมล info@tossakan.tech หรือเบอร์โทรศัพท์ 02-029-7888
เปลี่ยนสู่ Smart Life ด้วยการยืนยันตัวตนด้วยใบหน้ากับระบบ ‘e-KYC’
นอกจาก TOSSAKAN ที่เป็น Smart Security Platform แล้ว ทาง SKY ยังมีแพลตฟอร์ม e-KYC (Electronic Know Your Customer) ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิต โดยเฉพาะการทำธุรกรรมต่างๆ ซึ่งพัฒนามาจากเทคโนโลยี Face Recognition โดยระบบนี้เกิดจากการเห็นความสำคัญของ Cyber Security ที่ดูแลป้องกันการแฮ็กข้อมูล จากการยืนยันตัวตนด้วยใบหน้า
จริงๆ แล้ววิธีนี้มีใช้แล้วในการเปิดใช้สมาร์ตโฟน หรือแม้แต่การเทรด Cryptocurrency และ SKY ICT เองก็ได้พัฒนาระบบนี้เป็นของตัวเองขึ้นมา โดยใช้เทคโนโลยีของพาร์ทเนอร์เข้ามาต่อยอด ซึ่งระบบนี้สามารถนำไปใช้เสริมกับแพลตฟอร์มใดก็ได้ เช่น แอปฯ เป๋าตัง ถ้าเราต้องการตรวจสอบว่าบุคคลคนนี้จะได้รับเงินเยียวยาหรือไม่ ระบบ e-KYC ก็จะเข้ามาช่วย Verify ได้ทันที โดยใช้ข้อมูลใบหน้าจากบัตรประชาชนของผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยา มาแมตช์กับใบหน้าของผู้ทำธุรกรรมการเงินว่าเป็นตัวตนจริงๆ ที่เคลื่อนไหวได้ ไม่ได้นำภาพนิ่งมาหลอกทำ
โดย e-KYC นั้นมีความแม่นยำสูงและมีส่วนที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนน้อยมากเมื่อเทียบกับการเซ็นสำเนาบัตรประชาชน หรือระบบ OTP เพราะตัวยืนยันของ e-KYC คือตัวเราเอง ที่แฮกเกอร์ไม่สามารถแฮกตัวเราได้ ยิ่งในอนาคตที่ระบบเชื่อมต่อกันหมด การใช้ใบหน้าในการยืนยันตัวตนก็จะใช้ได้อย่างครอบคลุมยิ่งขึ้น
แต่แน่นอนว่าการจะสร้างระบบพัฒนาเทคโนโลยี AI ขึ้นมาเองต้องใช้เงินมหาศาล SKY ICT จึงเป็นตัวกลางที่มีระบบเหล่านี้พร้อมให้บริการกับธุรกิจได้ทันที ในวันนี้ภาคธุรกิจอาจต้องเริ่มที่การปรับเปลี่ยนมุมมองต่อการลงทุนที่คนอาจคิดว่าต้องลงทุนสูง แต่จริงๆ แล้วเราสามารถใช้เป็นแบบ Subscription Based Model หรือเสียค่าบริการตามจริงเมื่อมีการทำธุรกรรมหนึ่งครั้งก็ได้
บทส่งท้าย
เมื่อระบบเทคโนโลยีพัฒนาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด การขับเคลื่อนเมืองและชีวิตผู้คนสู่ Smart City ก็ไม่ใช่เรื่องไกลเกินฝัน ในอนาคตอันใกล้นี้ เราอาจมีโครงข่ายเพื่อการใช้ชีวิตแบบ Smart Life ที่เต็มรูปแบบยิ่งขึ้น โดยเริ่มต้นจากพัฒนา Smart Security ให้แข็งแรงและครอบคลุม
ด้วยความสำคัญต่อชีวิตของเราทุกคนนี้ ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีเองจึงไม่หยุดพัฒนาเช่นกัน อย่างที่ SKY ICT ได้ทิ้งท้ายถึง Roadmap ในปีหน้า หลังจากพัฒนาฐาน Data สู่การทำ Machine Learning และพัฒนาไปเป็น AI แล้ว SKY ICT จะเข้าสู่การเชื่อมต่อกับ IoT Devices ต่างๆ ให้มาทำงานร่วมกันกับตัวกล้องวงจรปิดที่ได้ทำมาแล้ว เช่น เซนเซอร์น้ำ เซนเซอร์ไฟ ของ Smart Building ที่ช่วยลดพลังงานในตึกได้ และถ้าระบบสามารถเชื่อมต่อภายนอกได้ อย่างการตรวจสอบ PM2.5 ก็จะสามารถเปิดระบบออกซิเจนในตึกได้ด้วย ยิ่งเชื่อมต่อได้มากก็จะยิ่งพัฒนาประเทศไทยสู่ Smart City ได้อย่างแน่นอน