ทุกวันนี้ “ธุรกิจนำเข้า-ส่งออก” เจอกับความท้าทายอะไรบ้าง?
“สงคราม, ล็อกดาวน์ และเศรษฐกิจโลก” คงเป็นคำที่บ่งบอกคำท้าทายของธุรกิจการนำเข้าส่งออกเป็นอย่างดี และเชื่อว่าเจ้าของธุรกิจประเภทนี้ก็คงเผชิญสิ่งเหล่านี้มากันพอประมาณ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบัน ความท้าทายจากสถานการณ์เหล่านี้ยังคงอยู่ และนับว่าเป็นบทเรียนชั้นดีสำหรับเจ้าของธุรกิจทุกคนที่จะได้เรียนรู้การรับมือและหาวิธีแก้ไขอย่างยั่งยืนให้กับธุรกิจของตัวเอง เพราะเราทุกคนต่างอยู่ภายใต้โลกที่เต็มไปด้วย “ความไม่แน่นอน” แม้เหตุการณ์ที่เราพูดมาจะจบลง แต่ก็มีโอกาสที่ความท้าทายใหม่ๆ จะเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต
แต่ก่อนที่จะไปรู้จักเตรียมพร้อม เราต้องมา “รู้ทัน” สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันก่อนว่ามันส่งผลกระทบอย่างไรต่อกลุ่มธุรกิจนำเข้าส่งออก
รู้ทันสถานการณ์ในปัจจุบัน: สงคราม, ล็อกดาวน์ และเศรษฐกิจ
อย่างแรกเลยคือสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อมาถึงปัจจุบัน หากพูดถึงผลกระทบทางตรง ประเทศไทยเรานั้นอาจจะไม่ได้มีผลกระทบมากขนาดนั้น เพราะไทยมีการส่งออกไปรัสเซียและยูเครนในสัดส่วนที่น้อย และไม่ได้มีสินค้าส่งออกอะไรที่พึ่งพารัสเซียกับยูเครนมากเป็นพิเศษ โดยจากข้อมูลของ SCB EIC ระบุว่า ถึงแม้ว่าสงครามยังยืดเยื้อจนทำให้ไทยไม่สามารถส่งออกไปยังสองประเทศนี้ได้เลยในช่วงปี 2022 ผลกระทบก็จะอยู่ที่ราว 0.5% จากการส่งออกทั้งหมดของไทยเท่านั้น
แต่สิ่งที่น่าเป็นกังวลมากกว่าคือ ผลกระทบทางอ้อม ปฏิเสธไม่ได้ว่าสงครามที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลเป็นวงกว้างต่อเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจของยุโรป ที่เป็นกลุ่มประเทศที่อยู่ใกล้ชิดกับรัสเซียและยูเครนซึ่งเป็นพื้นที่ความขัดแย้ง ซึ่งส่งผลต่ออีกทอดมายังการส่งออกของไทย ที่มีการส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มประเทศยุโรปในสัดส่วนที่ค่อนข้างใหญ่
ปัญหานี้ยิ่งทวีคูณขึ้นไปอีกจากสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศจีนที่มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นจากการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน และมีมาตรการล็อกดาวน์จากรัฐบาลที่มีความเด็ดขาด อย่างการสั่งปิดเมือง ทำให้ในเดือนเมษายนที่ผ่านมามีกว่า 45 เมืองต้องทำการล็อกดาวน์ ส่งผลให้เกิดการหยุดการผลิตในหลายๆ บริษัท เพราะจีนถือเป็นผู้เล่นสำคัญในระบบ Supply Chain โลก การผลิตเพื่อส่งออกของไทยถูกกระทบจากการขาดแคลนชิ้นส่วนและวัตถุดิบที่ต้องนำเข้าจากจีน ขณะที่การส่งออกสินค้าไปยังจีนก็ถูกกระทบจากการขนส่งที่หยุดชะงักลง
สรุปได้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมกับการส่งออกของไทย บางธุรกิจได้รับผลกระทบไปเต็มๆ บางธุรกิจได้รับผลกระทบแค่บางส่วน และยังมีบางธุรกิจที่อาจได้รับประโยชน์เช่นกัน แต่สิ่งสำคัญคือ แล้วธุรกิจจะเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนเหล่านี้ในระยะยาวได้อย่างไร?
“โลกดิจิทัล” สิ่งที่จะเกิดต่อไปในระยะยาว
ภายใต้ความไม่แน่นอน มีสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนและเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว นั่นคือ “โลกธุรกิจแห่งดิจิทัล”
ทุกวันนี้ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม ทุกอย่างทำผ่านสิ่งที่เรียกว่า “ดิจิทัล” หมด ไม่ว่าจะติดต่อลูกค้า ทำธุรกรรมทางการเงิน ตรวจสอบธุรกิจ หรือการเปิดตลาดหาช่องทางโอกาสใหม่ๆ ให้กับธุรกิจ แม้ว่าเราจะควบคุมปัจจัยภายนอกอย่างที่เราได้พูดถึงสถานการณ์ต่างๆ กันมา แต่เราสามารถควบคุมปัจจัยภายในธุรกิจของเราให้มีความแข็งแรง สะดวก และคล่องตัว เพื่อตอบรับกับความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นได้
เชื่อว่าตอนนี้คนทำธุรกิจส่งออกคงสงสัยว่าแล้วธุรกิจอย่างเราจะหาโอกาสจากดิจิทัลได้อย่างไรบ้าง?
การปรับตัวเข้าสู่ดิจิทัลของธุรกิจการค้าระหว่างประเทศสามารถทำได้หลายทาง ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง Branding และการทำการตลาดบนโลกดิจิทัลให้แข็งแรงขึ้น เพื่อเป็นที่จดจำของลูกค้าและสามารถเปิดตลาด เข้าหาลูกค้าในกลุ่มที่ใหญ่ขึ้นได้ หรือจะเป็นการมีระบบภายในธุรกิจที่มีความเป็นดิจิทัลมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของการติดต่อลูกค้าหรือการทำธุรกรรมทางการเงินที่เป็นเหมือนส่วนสำคัญในการทำธุรกิจค้าขายระหว่างประเทศ
แต่แน่นอนว่าการปรับตัวเข้าสู่ดิจิทัลไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะกับธุรกิจส่งออกที่ทำการค้ากับต่างประเทศ ทำให้ทาง SCB ผู้ที่ทำงานร่วมกับหลากหลายธุรกิจที่มีการค้าขายระหว่างประเทศอย่างใกล้ชิด เข้าใจและเห็น Pain Point ตรงนี้ดี และได้จัดคอร์ส Intelligence Trade Program ครั้งที่ 4 (ITP4) ขึ้นมา โดยมีการเข้าไปร่วมมือกับองค์กรที่เชี่ยวชาญเรื่องการค้าระหว่างประเทศ อย่างกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) และองค์กรที่เชี่ยวชาญด้านออนไลน์อย่าง Google มาช่วยให้คำปรึกษาและอัปเดตข้อมูลแก่ผู้เข้าเรียน
โดยภายในคอร์สได้รับเชิญวิทยากรที่เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา ตอบโจทย์ความต้องการที่เราพูดถึงกันไปด้านบน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำ Digital Brading for Exporter การทำ International Marketing หรือการใช้ประโยชน์จากเครื่องมือแพลตฟอร์มระดับโลกอย่าง Google Ads
หรือแม้เครื่องมือทางเงินที่เป็นส่วนสำคัญของธุรกิจส่งออก ภายในคอร์สก็ได้มีเครื่องมือใหม่ๆ ของทาง SCB มาให้รู้จักและเรียนรู้เพื่อที่เจ้าของธุรกิจจะนำไปปรับใช้เกิดประสิทธิภาพกับธุรกิจมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น SCB FX-Online, SCB Business Anywhere หรือ SCB Trade Club
โดยทั้ง 3 เครื่องมือนี้เรียกได้ว่าเป็นเครื่องมือที่เหมาะกับธุรกิจค้าขายระหว่างประเทศอย่างมาก เดี๋ยวเราจะพาไปเจาะกันทีละตัว
SCB FX Online
SCB FX Online นับว่าเป็นเครื่องมือที่เหมาะกับการค้าขายระหว่างประเทศอย่างมาก เพราะแน่นอนว่าอัตราแลกเปลี่ยนมีขึ้นมีลงอยู่ตลอด ถ้าเราสามารถจองเรตอัตราแลกเปลี่ยนที่ถูกไว้ใช้ มองเป็นจำนวนน้อยคงไม่เห็นความแตกต่างเท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นเงินจำนวนมาก ก็จะช่วยให้เราแลกเงินได้ถูกลงไปเยอะ ซึ่งการจองอัตราแลกเปลี่ยนก็สามารถทำได้ง่ายๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่ต้องไปถึงธนาคาร และยังสามารถทำได้ทันทีระหว่าง 8.00 – 17.00 น. เรียกได้ว่าช่วยให้ธุรกิจได้ความคุ้มค่ามากยิ่งขึ้นและยังได้ความสะดวกสบายไปพร้อมๆ กัน
SCB Business Anywhere
SCB Business Anywhere เป็น Digital Platform ที่ทำให้การทำธุรกรรมของธุรกิจ ไม่ว่าจะในประเทศหรือต่างประเทศสะดวกและง่ายขึ้น เพราะ SCB Business Anywhere รวมทุกอย่างไว้ในที่เดียวแล้วเรียบร้อย แต่จะขอยกตัวอย่างอันที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางต่างประเทศ อย่างเช่น การแสดงข้อมูลบัญชีสกุลเงินไทยและสกุลเงินต่างประเทศแบบเรียลไทม์ การจ่ายเงินคู่ค้าในไทยและต่างประเทศ การโอนเงินระหว่างบัญชีเงินฝากไปต่างประเทศที่ครอบคลุมกว่า 18 สกุลเงิน หรือจะเป็นบริการที่แนะนำช่องทางการโอนเงินและชำระเงินที่เหมาะสมให้กับธุรกรรมแบบอัตโนมัติ และยังมีบริการอื่นๆ อีกมากมายที่ครบอยู่ในแอปฯ เดียว ช่วยธุรกิจลดเวลาการสลับแพลตฟอร์มและเพิ่มความคล่องตัวให้กับการทำธุรกรรมอย่างแท้จริง
SCB Trade Club
SCB Trade Club เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่เป็นเหมือน “ขุมทรัพย์” สำหรับธุรกิจนำเข้าส่งออกเลยก็ว่าได้ ด้วย Trade Portal ที่เป็นบริการที่รวบรวมข้อมูลการค้าต่างประเทศ ทั้งนำเข้าส่งออก ข้อมูลเชิงลึก รายงานตลาด ข้อกำหนดการนำเข้าส่งออกประเทศต่างๆ ที่รวมไว้ให้ผู้ประกอบการมาหยิบไปใช้ต่อได้แบบง่ายๆ รวมถึงยังมี Trade Club ที่เป็นบริการจับคู่ธุรกิจ เปิดโอกาสให้สมาชิกได้เลือกหาพันธมิตรทางการค้า และได้คู่ค่าที่มีคุณภาพไปทำงานด้วย โดยบริการนี้ยังนับว่ามีเพียงหนึ่งเดียวในประเทศไทยอยู่ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นแหล่งของ “โอกาส” สำหรับธุรกิจค้าขายระหว่างประเทศเลยทีเดียว
โดยภายในคอร์ส ITP4 ผู้เรียนจะได้รับการเรียนรู้ด้านดิจิทัลทั้งส่วนของการทำการตลาด การเปิดตลาดใหม่ๆ รวมถึงเครื่องมือทางการเงินดิจิทัลที่เราได้พูดถึงกันไปข้างต้นนี้ นอกจากทั้งสองส่วนนี้แล้ว ยังมีบทเรียนที่ให้ความรู้ในเรื่องของการปรับตัวกับการค้าขายในต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศจีน ที่เป็นคู่ค้าคนสำคัญสำหรับหลายๆ ธุรกิจ และในยุคที่ทุกอย่างเชื่อมต่อกัน การแข่งขันก็สูงขึ้นไปด้วย ในคอร์สนี้ยังบทเรียนที่ช่วยในเรื่องของกลยุทธ์การตั้งราคาของสินค้าส่งออก ที่จะเป็นอีกแรงหนึ่งในการช่วยผลักดันศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจไปอีกขั้นหนึ่ง และบทเรียนทั้งหมดธุรกิจสามารถนำไปต่อยอดได้จริง พร้อมยังสามารถเข้ารับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญของ SCB และ Google ได้อีกด้วย
ซึ่งนี่ทำให้เห็นว่าทาง SCB นั้นเล็งเห็นถึงสถานการณ์ทั่วโลก และ Pain Point ของธุรกิจที่ต้องเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยผลักดันให้เหล่า SME ไทยนั้นทันโลกและมีความพร้อมที่จะไปต่อสู้กับธุรกิจอื่นๆ ในเวทีโลก
และอย่างที่บอกกันว่า เราไม่สามารถควบคุมปัจจัยภายนอกได้ ดังนั้น ภายใต้ยุคดิจิทัลนี้ เรามาพัฒนาและสร้างปัจจัยภายในให้เข้มแข็ง เพื่อที่เติบโตได้อย่างยั่งยืนและคล่องตัวไม่ว่าจะมีสถานการณ์อะไรเข้ามาท้าทายเราอีกในอนาคต