BUSINESSวางแผนเพื่อส่งต่อความมั่งคั่ง ป้องกันครอบครัวแตกแยก

วางแผนเพื่อส่งต่อความมั่งคั่ง ป้องกันครอบครัวแตกแยก

คำว่ากล่าวที่ว่า “เรื่องเงินเรื่องทองไม่เข้าใครออกใคร” มีความหมายว่า เมื่อถึงคราวของเรื่องเงินๆ ทองๆ เมื่อไหร่แล้วล่ะก็ ไว้ใจใครไม่ได้ แม้แต่คนในครอบครัวไม่ว่าจะเป็น พ่อแม่ลูก พี่น้อง สามีภรรยา ถ้าหากไม่ระมัดระวังให้ดี ก็สามารถผิดใจเรื่องทรัพย์สินเงินทอง กันได้ง่ายๆ เลย

อีกสิ่งหนึ่งที่ซับซ้อนและละเอียดอ่อนไม่แพ้เรื่องทรัพย์สินเงินทองเลยก็คือ “ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว” เพราะว่าครอบครัวที่สมบูรณ์ต้องเป็นอย่างไรนั้นเป็นสิ่งที่ไม่มีสูตรปฏิบัติตายตัว แต่ละครอบครัวนั้นก็มีเรื่องราวและกฎเกณฑ์ที่ไม่เหมือนกัน
แค่ลำพังเรื่องใดเรื่องหนึ่งไม่ว่าจะเป็นเรื่อง “ทรัพย์สินเงินทอง” หรือ “ความสัมพันธ์ในครอบครัว” นั้นก็สร้างความปวดหัวให้กับใครหลายคนมากอยู่แล้ว แต่ว่าเมื่อใดก็ตามนั้นที่สองสิ่งนี้ได้ผนวกกันเข้ามาเป็นเรื่องเดียวกันกลายเป็น “การทำธุรกิจครอบครัว”, “การบริหารทรัพย์สินภายในครอบครัว”, หรือแม้กระทั่ง “การจัดการมรดกภายในครอบครัว” ก็ต่างเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวและทำให้ครอบครัวที่เคยรักใคร่กันดีต้องแตกคอกันมานักต่อนักแล้ว

Mission To The Moon ได้มีโอกาสไปพูดคุยกับ คุณพีระพัฒน์ เหรียญประยูร Managing Director, Wealth Planning and Non Capital Market Head, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย ในเรื่องของ “ความสำคัญ” และ “ความจำเป็น” ในการบริหารทรัพย์สินเงินทองภายในครอบครัวถึงการบริหารทรัพย์สินภายในครอบครัว ที่ไม่ควรมองข้ามและเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับทุกๆ ครอบครัว ไม่ว่าคุณจะอยู่ในครอบครัวที่มีสินทรัพย์น้อยหรือมากแค่ไหนก็ตาม

ทรัพย์สินเงินทองของครอบครัวไม่ว่าจะมีมากหรือน้อย การบริหารจัดการให้ดีคือเรื่องจำเป็น

เมื่อพูดถึงเรื่องของการบริหารจัดการทรัพย์สินภายในครอบครัวหลายๆ ครอบครัวมักจะไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก เนื่องจากว่าพวกเขามองว่าตัวเองนั้นไม่ได้มีเงินหรือมีฐานะที่ร่ำรวยมากพอจนจะทำให้เกิดปัญหาการแก่งแย่งสมบัติกันได้

แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง ปัญหาที่เกิดจากการไม่บริหารจัดการทรัพย์สินภายในครอบครัวนั้นสามารถเกิดขึ้นได้มากมายหลายรูปแบบ ไม่ว่าครอบครัวจะมีเงินมากหรือน้อยแค่ไหนก็ตาม
ตั้งแต่ การจัดการมรดกเมื่อมีสมาชิกครอบครัวจากไป การจัดการความเสี่ยงทางด้านการเงินที่อาจส่งผลกระทบต่อรายได้ของครอบครัวไปจนถึงความเป็นอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งการทำธุรกิจครอบครัวที่อาจได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน

สังเกตได้จากช่วงประมาณ 2-3 ปีที่ผ่านมา มีปัญหาเกิดขึ้นมากมายที่ส่งผลกระทบในทางลบให้กับเศรษฐกิจทั่วทั้งโลก ไม่ว่าจะเป็น การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ปัญหาเงินเฟ้อ ไปจนถึงสงคราม ก็นำมาสู่ปัญหาทางด้านรายได้ของแต่ละครอบครัวในแบบที่หลายคนไม่ทันตั้งตัวและไม่เคยนึกถึงมาก่อน

สิ่งนี้คือหลักฐานว่าทำไมเราถึงจำเป็นที่จะต้องมีการเตรียมพร้อมและบริหารจัดการทรัพย์สินภายในครอบครัวไว้แต่เนิ่นๆ

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเราจะตระหนักรู้ในเรื่องนี้มากขนาดไหนก็ตาม ก็ไม่ได้แปลว่าเราจะสามารถวางแผนเตรียมพร้อมรับมือได้ดีเสมอไป เมื่อมีคำว่า “ครอบครัว” มาเกี่ยวข้อง โดยบางครอบครัวอาจจะไม่เปิดโอกาสให้ใครเป็นผู้มีส่วนตัดสินใจเรื่องการเงินของครอบครัวเลยนอกจากคุณพ่อ หรือบางครอบครัวก็อาจจะต้องมีการไปปรึกษาญาติพี่น้องทั้งกงสีก่อนว่าจะทำอย่างไรจึงจะเริ่มลงมือวางแผน

ดังนั้นความยากลำบากของที่สุดของการบริหารจัดการทรัพย์สินภายในครอบครัวนั้นอาจจะไม่ใช่เรื่องเงินๆ ทองๆ เสมอไปแต่เป็นสมาชิกในครอบครัวต่างหากที่ต้องพูดคุยสื่อสารกันให้ดี เพื่อป้องกันความขัดแย้ง

“ภาษี” ความเสี่ยงที่หลายครอบครัวมองข้าม

ในแต่ละครอบครัวจะมีความเสี่ยงด้านการเงินที่ไม่เหมือนกัน บางครอบครัวมีความเสี่ยงเรื่องการนำเงินไปลงทุน บางครอบครัวมีความเสี่ยงเรื่องธุรกิจเติบโตไม่ทันสมาชิกครอบครัว แต่ความเสี่ยงหนึ่งที่ทุกๆ ครอบครัวนั้นมีร่วมกันและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลยก็คือเรื่องของกฎหมายและภาษี ซึ่งภายในเดือนกันยายนปี 2566 ประเทศไทยจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในเรื่องของการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางภาษีระหว่างประเทศ โดยสรรพากรไทยจะเริ่มต้นส่งข้อมูลภาษีแบบเต็มรูปแบบตามระบบ Common Reporting Standard (CRS)

โดย CRS นี้คือสัญญาการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการเงินของผู้เสียภาษีที่ประเทศไทยได้ตกลงร่วมกับสมาชิกที่อยู่ในเครือข่ายจำนวน 136 ประเทศ เนื่องจากว่า ข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในเขตอำนาจของกรมสรรพากรประเทศนั้นๆ ที่จะตรวจสอบได้ เพราะได้ถูกนำไปเก็บไว้ที่สถาบันการเงินในต่างประเทศเช่น นาย A ชาวสหรัฐฯ ได้ลงทุนและมีเงินได้เก็บไว้ในบัญชีของธนาคารที่ตั้งอยู่ในไทย ดังนั้น แม้ว่าสหรัฐฯ จะมีข้อกำหนดให้คนสหรัฐฯ มีหน้าที่ยื่นเสียภาษีทุกปีแม้ในปีนั้นจะไม่ได้อาศัยอยู่ในสหรัฐฯ เลยก็ตาม แต่เงินของนาย A ที่อยู่ในธนาคารไทยก็ยากต่อการตรวจสอบของกรมสรรพากรสหรัฐ ซึ่งเป็นปัญหาในเชิง Jurisdiction ที่ส่งผลกระทบต่อความโปร่งใสในทางภาษี (Tax Transparency)

โดยมาตรการนี้ถือว่าถูกบังคับใช้เพื่อเป็นมาตรการสำหรับการต่อต้านการหลีกเลี่ยงภาษีในระดับสากล ซึ่งแน่นอนว่าจะมีผลกระทบต่อการยื่นภาษีของทุกๆ คน โดยเฉพาะคนที่ทำธุรกิจก็จะถูกตรวจสอบอย่างละเอียดขึ้นไปอีก

ต่อมาคือเรื่องของระบบเงินสด เนื่องจากว่าในสมัยก่อนครอบครัวคนไทยเวลาทำธุรกิจ มักพึ่งพาเงินสดเป็นหลัก แล้วก็มีจะมีสมุดบัญชีมากกว่า 1 เล่ม ซึ่งในปัจจุบันเมื่อระบบเงินสดเริ่มหายไป การทำธุรกรรมการเงินแบบออนไลน์กลายมาเป็นระบบหลัก ทำให้ทุกธุรกรรมทางการเงินนั้นจะถูกบันทึกเอาไว้ในฐานข้อมูลที่ภาครัฐสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยยกระดับความโปร่งใสของแหล่งเงินได้และภาษีให้กับธุรกิจ จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้แล้วว่าที่จะมีสมุดบัญชีมากกว่า 1 เล่มเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีให้ได้มากที่สุด

“ภาษีที่ดิน” เองก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่หลายครอบครัวกังวล เนื่องจากว่า ตอนนี้ได้มีการยกเลิกมาตรการปรับลดอัตราจัดเก็บภาษีที่ดิน 90% ทำให้เจ้าของที่ดินจะต้องถูกจัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราที่สูงขึ้นเป็นอย่างมาก ทำให้หลายๆ ครอบครัวที่เคยคิดว่าอยากจะถือครองที่ดินเอาไว้เป็นมรดกแก่ลูกหลานนั้นต้องมีการบริหารจัดการที่ดินตรงนี้เสียใหม่ รวมถึงพิจารณาใหม่ว่า ยังอยากเก็บที่ดินเหล่านี้เป็นทรัพย์สินของครอบครัวอยู่หรือไม่นั่นเอง

อีกหนึ่งภาษีที่ไม่อาจมองข้ามได้ในปีต่อไปเลยก็คือ “ภาษีการลงทุน” ที่เป็นการเก็บภาษีจากการลงทุนซื้อขายหุ้นที่แบ่งออกเป็น 2 ประเภทก็คือ

1. Capital Gain Tax ภาษีกำไรจากเงินลงทุน คือภาษีเงินได้จากการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่เกิดจากส่วนต่างของราคาหุ้น หรือพูดง่ายๆ ก็คือกำไรที่ได้รับจากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์นั่นเอง

2. Financial Transaction tax ภาษีขายหุ้น หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ คือภาษีที่เก็บจากการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งกฎหมายได้กำหนดไว้ว่าหากมีการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ 1 ล้านบาทขึ้นไป จะต้องเสียภาษี 0.1% ของมูลค่าขาย

ทำให้ต่อจากนี้ไป การวางแผนภาษีจะเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกๆ ครอบครัวจำเป็นที่จะต้องศึกษาเรียนรู้ให้ดี ซึ่งในจุดนี้ ทาง KBank Private Banking จะสามารถให้คำแนะนำและให้ความรู้สำหรับการวางแผนภาษีทั้งหมดนี้ได้

Advertisements

ธุรกิจครอบครัวจะสำเร็จได้ต้องมี “กติกา”

เคยมีคำกล่าวที่ว่า ยากกว่าทำธุรกิจ คือทำธุรกิจกับครอบครัว เนื่องจากการทำธุรกิจนั้น บางครั้งก็มีการตัดสินใจที่ยากลำบาก เป็นสาเหตุให้ใครหลายๆ คนไม่ต้องการทำกับคนในครอบครัว ดังนั้นเมื่อครอบครัวที่เคยอยู่ด้วยกันในสภาพแวดล้อมที่มีแต่ความรักและช่วยเหลือเกื้อกูลกันก็อาจจะไม่ใช่ผลดีต่อการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จเสมอไป

แต่ก็ไม่ใช่ว่าธุรกิจครอบครัวนั้นจะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ อย่างในประเทศไทยเองก็มีหลายๆ ธุรกิจครอบครัวที่ประสบความสำเร็จ และส่งต่อกันมาหลายต่อหลายรุ่น และก็ยังคงมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกในครอบครัวได้ โดยปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจครอบครัวประสบความสำเร็จได้ก็คือ

[ ] กติกาที่ชัดเจน
[ ] การแยกแยะระหว่างธุรกิจและครอบครัว
[ ] ความเป็นมืออาชีพ

1. กติกาที่ชัดเจน

สิ่งที่จะทำให้ธุรกิจครอบครัวสามารถประสบความสำเร็จไปพร้อมๆ กับรักษาสายสัมพันธ์ของครอบครัวให้แน่นแฟ้นเหมือนเดิมได้ก็คือ “ทำให้ทุกคนทราบและเคารพกติกา” ซึ่งต้องมีความชัดเจนว่า สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ รวมถึงผลประโยชน์ที่สมาชิกครอบครัวแต่ละคนจะได้รับก็คืออะไร ซึ่งเมื่อทุกคนในครอบครัวเคารพกติกาตรงนี้ การบริหารธุรกิจครอบครัวก็จะง่าย

Advertisements

2. การแยกแยะ

การรู้จักแยกแยะระหว่าง “ธุรกิจ” และ “ครอบครัว” ออกจากกันให้ได้ ถ้าเกิดว่าทำธุรกิจ บทบาทของสมาชิกครอบครัวแต่ละคนก็คือ “ผู้ถือหุ้น” ไม่ใช่พ่อ แม่ พี่ น้อง น้า หรือ ลุง แต่เมื่อใดก็ตามเมื่อการทำงานเสร็จสิ้น บทบาทของทุกคนก็จะกลับมาเป็นสมาชิกครอบครัวเหมือนเดิม

3. ความเป็นมืออาชีพ

การปรับเปลี่ยนธุรกิจครอบครัวให้มีความเป็นมืออาชีพ (Professional) มากขึ้น ไม่จำเป็นต้องทำตามขนบธรรมเนียมหรือประเพณีเพียงเท่านั้น เพราะว่าเรื่องของธุรกิจเป็นเรื่องที่มีขอบเขตกว้างกว่าแค่สมาชิกในครอบครัว ดังนั้นสมาชิกในครอบครัวไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ดำเนินธุรกิจด้วยตัวเองเสมอไป หลายครั้งการจ้างมืออาชีพที่มีความสามารถในสายงานนั้นๆ เข้ามาช่วยบริหารธุรกิจอาจเป็นคำตอบที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจครอบครัวมากกว่า เพื่อครอบครัวจะได้แน่ใจว่า ธุรกิจของครอบครัวได้รับการดูแลจาก “คนเก่งที่สุด” ไม่ใช่แค่ “คนที่เก่งที่สุดในครอบครัว”

เหนือสิ่งอื่นใดก็คือความชัดเจนในการสื่อสารกติกา เพราะถ้าหากไม่มีการพูดคุยสื่อสารจนสมาชิกในครอบครัวทุกคนเข้าใจตรงกันแล้วละก็ ก็อาจจะทำให้เกิดความเคลือบแคลงใจกันระหว่างสมาชิกครอบครัว เกิดเป็นปัญหาผิดใจกัน ซึ่งสามารถมีผลกระทบต่อธุรกิจได้นั่นเอง

บทบาทของ KBank Private Banking ในฐานะผู้ให้บริการ คำปรึกษา และบริหารจัดทรัพย์สินครอบครัว

สิ่งที่ทาง KBank Private Banking อยากจะสื่อสารกับทุกคนมากที่สุดเสมอก็คือการย้ำเตือนว่า ทุกครอบครัวไม่ว่าจะมีทรัพย์สินมากน้อยแค่ไหน การบริหารจัดการทรัพย์สินของครอบครัวคือสิ่งที่จำเป็นต้องทำ

โดย KBank Private Banking ได้แนะนำ 5 ขั้นตอน ที่จะช่วยในการเริ่มต้นบริหารจัดการทรัพย์สินครอบครัว ไม่ว่าจะมีสินทรัพย์น้อยหรือมาก ได้แก่

1. ทำบัญชีทรัพย์สินที่ถือครอง ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจครอบครัว ที่ดิน พอร์ตการลงทุน เงินฝาก ทรัพย์สิน ของสะสมอื่นๆ จำเป็นที่จะต้องมีการทำรายการหนี้สินรวมถึงการคำนวณรายได้ ค่าใช้จ่าย ด้วย เพื่อจะได้ดูว่า เราจะต้องสร้างความเติบโตในทรัพย์สินเท่าไหร่ ให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายทั้งในปัจจุบันและอนาคตด้วย จึงจะทราบว่าส่วนที่จะเหลือส่งต่อเป็นเท่าไหร่แล้วจะจัดการอย่างไรได้บ้างต่อไป

2. กำหนดโจทย์ หรือนโยบายของครอบครัว โดยเริ่มต้นจากการวางกติกาของครอบครัว เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวเข้าใจสิทธิ หน้าที่และความยุติธรรมในการจัดสรรทรัพย์สิน รวมทั้งการจัดการระบบกงสีและสร้างความปรองดองภายในครอบครัว

3. บริหารจัดการให้เป็นระบบธุรกิจ โดยลดการบริหารงานแบบครอบครัวและจัดโครงสร้างการถือครองทรัพย์สินโดยใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น บริษัทโฮลดิ้ง หรือทรัสต์ในต่างประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่วางไว้

4. การวางแผนการส่งต่อ สิ่งสำคัญคือ ต้องให้ทายาทรุ่นต่อไปมีส่วนร่วม เพื่อให้การส่งต่อความมั่งคั่งเป็นไปอย่างราบรื่น นอกจากนี้ บางครอบครัวอาจจะใช้เครื่องมือทางการเงิน เช่น การจัดตั้งทรัสต์ ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต เป็นต้น

5. การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านอื่นๆ เช่น การวางแผนภาษี, การจัดการระบบบัญชี, การรักษาความสัมพันธ์ภายในครอบครัว หรือกฎหมายด้านการจัดการทรัพย์สิน

ทั้งนี้การบริหารจัดการทรัพย์สินของแต่ละครอบครัวไม่มีโจทย์ตายตัว ครอบครัวจะเป็นผู้ที่รู้ดีที่สุด ว่าวิธีไหนที่เหมาะกับครอบครัวของตนเอง

องค์ความรู้จาก Lombard Odier พันธมิตรสำคัญของ KBank Private Banking

จากคำกล่าวที่ว่า “เรื่องภายในครอบครัว คนนอกไม่ควรมายุ่ง” อาจกลายเป็นตัวปิดกั้นที่ทำให้หลายๆ ครอบครัวไม่ยอมรับความช่วยเหลือจากบุคคลภายนอกที่มีความรู้ความสามารถและที่สำคัญคือมีความเป็นกลางเข้ามาช่วยจัดการ

แต่ในทางกลับกัน ถ้าหากคนที่อยู่นอกครอบครัว คือคนที่สามารถเข้าใจทุกมุมมองของการบริหารทรัพย์สินสำหรับครอบครัวโดยเฉพาะ นั่นคืออีกหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ KBank Private Banking จับมือเป็นพันธมิตรกับ Lombard Odier (ลอมบาร์ด โอเดียร์)

โดย Lombard Odier คือผู้ให้บริการด้านไพรเวทแบงก์ระดับโลกจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องการช่วยครอบครัวหลายๆ ครอบครัวบริหารจัดการทรัพย์สินของตัวเองมามากกว่า 225 ปี ที่และ Lombard Odier ยังเป็นธุรกิจครอบครัวที่ส่งต่อกันมาถึง 7 รุ่นด้วยกัน

เนื่องจาก Lombard Odier ไม่ได้เป็นบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้นจึงสามารถโฟกัสกับการลงทุนที่แตกต่างได้มากกว่า แข็งแกร่งและมีความฉับไวในเรื่องของการลงทุนมากกว่า มีความเป็นอิสระ สามารถเลือกมิติของการลงทุนได้มากกว่าไม่ว่าจะเป็นระยะสั้น หรือแม้แต่ระยะยาว

สำหรับการส่งมอบบริการบริหารจัดการทรัพย์สินครอบครัว KBank Private Banking นั้นเน้นการเป็นที่ปรึกษา (Advisor ) เพื่อให้คำปรึกษาตามความต้องการของแต่ละครอบครัว รวมถึงการเป็น Facilitator ที่ทำหน้าที่ให้คำแนะนำและช่วยเหลือการจัดการเรื่องภายในครอบครัว ด้วยประสบการณ์และองค์ความรู้กว่า 225 ปีที่ได้รับถ่ายทอดจาก Lombard Odier ทำให้ KBank Private Banking นั้นสามารถส่งมอบบริการที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพย์สินครอบครัวที่ครบวงจร เพื่อให้สินทรัพย์ครอบครัวงอกเงย อย่างยั่งยืน ทั้งถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นอย่างเป็นระบบได้นั่นเอง

สำหรับผู้ใดที่สนใจอยากจะใช้บริการที่ปรึกษาการบริหารทรัพย์สินภายในครอบครัวของ KBank Private Banking ติดต่อ Contact Center โทร.02-888-8811 หรือ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ ได้ที่ https://kbank.co/3ETkS5v

Mission To The Moon x KBank Private Banking

#KBank
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า