BUSINESSจะเริ่มต้นธุรกิจส่งออกได้อย่างไร? รู้จักแนวทางที่ใช่ ผู้ช่วยที่เหมาะ แม้เริ่มจากศูนย์ก็สำเร็จได้

จะเริ่มต้นธุรกิจส่งออกได้อย่างไร? รู้จักแนวทางที่ใช่ ผู้ช่วยที่เหมาะ แม้เริ่มจากศูนย์ก็สำเร็จได้

Mission To The Moon X DITP

เมื่อเริ่มต้นทำแบรนด์หรือธุรกิจไปสักพัก เชื่อว่าผู้ประกอบการหรือเจ้าของแบรนด์หลายคนมีความฝันอยากพาแบรนด์ไปต่างประเทศ เพื่อเป็นที่รู้จักและเพิ่มช่องทางให้กับธุรกิจมากขึ้น เพราะความสำเร็จของธุรกิจนั้นไม่ได้หยุดแค่ในประเทศ แต่ยังมีโอกาสอีกนับไม่ถ้วนในตลาดต่างประเทศ แต่ก็ยังมีผู้ประกอบการอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่รู้ขั้นตอนหรือแนวทางที่ชัดเจนว่าควรเริ่มต้นอย่างไรดี เพราะการขยายธุรกิจไปต่างประเทศก็นับเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากและท้าทายพอสมควร

Mission To The Moon ได้มีโอกาสพูดคุยกับ ‘คุณอนุพล อยู่ยืน’ ผู้อำนวยการ การออกแบบ บริษัท โมเบลลา แกลเลอเรีย จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์แบรนด์ “โมเบลลา” (Mobella) ที่ขยายแบรนด์ไปสู่ระดับโลก ผ่านการบาลานซ์ความเป็นไทยควบคู่กับการเข้าใจกลุ่มเป้าหมายในแต่ละประเทศ และการสนับสนุนจาก “กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ” (DITP) ที่ช่วยเชื่อมโยงทุกมิติของการส่งออก ตั้งแต่ให้คำปรึกษาตั้งแต่เบื้องต้น แนะนำเรื่องการออกแบบ ไปจนถึงการประสานงานกับคู่ค้าในต่างประเทศ แต่ต้องบอกว่ากว่าจะเป็น “โมเบลลา” (Mobella) ในวันนี้ก็ไม่ง่ายเหมือนกัน มาติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจไปพร้อมๆ กัน

จุดเริ่มต้นของ Mobella แบรนด์ไทยที่ทำธุรกิจส่งออก ขายสู่ตลาดโลก

คุณอนุพลเล่าให้ฟังถึงความตั้งใจที่จะผลักแบรนด์ของตัวเองเข้าสู่ตลาดต่างประเทศว่า ก่อนหน้านี้มีโอกาสไปเดินงานจัดแสดงสินค้าที่ต่างประเทศ แล้วเกิดความคิดอยากพาแบรนด์ไทยมาอยู่ตรงนี้ ซึ่งโชคดีที่ส่วนตัวมีธุรกิจเป็นของตัวเองอยู่แล้ว คือโรงงานทำเฟอร์นิเจอร์ที่รับจ้างผลิต OEM หรือ (Original Equipment Manufacturer) โดยทำมา 13 ปี และมีพาร์ตเนอร์ที่มีประสบการณ์กว่า 30 ปีร่วมด้วย และมองว่าในระยะยาวธุรกิจ OEM น่าจะไม่รอด จึงหาแนวทางว่าจะทำอย่างไรให้โรงงานไปต่อได้ในอนาคต ประจวบเหมาะกับเรียนจบด้านการออกแบบมา จึงตัดสินใจทำแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ของตัวเอง

ในช่วงแรกๆ ค่อนข้างยากและท้าทายมากๆ โดยเฉพาะช่วง 2 ปีแรกถือว่าเจ็บหนักพอสมควร เพราะไม่มีใครสนใจสินค้าเลย จึงกลับมารีแบรนด์และทำการบ้านอย่างจริงจัง เพราะเริ่มต้นมาจากธุรกิจ OEM ซึ่งใช้เวลาประมาณ 3-4 ปีกว่าทุกอย่างจะลงตัว ไม่ใช่แค่มีโรงงานหรือสินค้าดีไซน์สวยแล้วจะขายได้ เพราะต้องอาศัยหลายๆ องค์ประกอบด้วยกัน ดังนั้นไม่ว่าจะไปตีตลาดประเทศไทยก็ต้องเริ่มต้นใหม่หมด ตั้งแต่ศึกษาไลฟ์สไตล์การอยู่อาศัย โทนสี พื้นที่ของที่อยู่อาศัยในแต่โซน ไปจนถึงเงื่อนไขการส่งออกของแต่ละประเทศ เช่น เราทำโซฟาไปขายที่ญี่ปุ่นก็จะทำรูปแบบเดียวกับไทยขนาด 2.4 เมตรไม่ได้ ต้องทำ 1.8 เมตร เพราะชาวญี่ปุ่นมีพื้นที่บ้านที่จำกัดและต้องการเฟอร์นิเจอร์ที่มีหลากหลายฟังก์ชัน

Advertisements

ทำไมต้องบาลานซ์เอกลักษณ์ของแบรนด์ควบคู่กับความต้องการของผู้ใช้ในแต่ละประเทศ?

หลายคนมักคิดว่าอะไรก็ได้ที่มีกลิ่นอายความเป็นไทย ขายได้หมด คนต่างประเทศชอบทั้งนั้น เพราะบ้านเขาไม่มี แต่จริงๆ เราไม่สามารถยกความเป็นไทยไปขายได้แบบ 100% สุดท้ายสินค้าเราจะเป็นเพียงแค่ของที่ระลึกเท่านั้น ไม่ใช่ของที่พวกเขาเลือกใช้งานในชีวิตประจำวัน จึงจำเป็นต้องปรับความเป็นไทยให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของแต่ละประเทศอย่างสมดุลกัน และหากมองในแง่มุมของการทำเฟอร์นิเจอร์ต้องมีดีไซน์ที่สวยงามควบคู่ไปกับความสะดวกสบาย สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้อย่างลงตัว

สำหรับแบรนด์ Mobella คุณอนุพลเล่าว่าได้สร้างความเป็นไทยให้สินค้าผ่านการเล่าเป็นเรื่องราว (Story) ให้ลูกค้าสนใจและอยากรู้จักแบรนด์มากขึ้น ทำให้ลูกค้าไม่ได้ซื้อเพียงแค่สินค้า แต่พวกเขาอยากคุยกับเราต่อไปอีกว่าเรื่องราวเป็นมาอย่างไร ทำอย่างไรบ้าง และการดำเนินธุรกิจก็จะเกิดขึ้นต่อไป

จากประสบการณ์ที่ผ่านมา คุณอนุพลบอกว่าสิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ไทยที่โดดเด่นและสามารถนำไปเป็นจุดขายได้ในต่างประเทศ คือ งานคราฟต์ (Craft) และการบริการที่ดี (Service Mind) แม้ว่าเราจะไม่มีเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีสู้ที่อื่น แต่เรามีบุคลากรที่มีความสามารถด้านการออกแบบ งานฝีมือต่างๆ ไม่น้อยหน้าใคร และพวกเขารู้สึกว่าคนไทยยินดีที่จะรับคำแนะนำต่างๆ เพื่อพัฒนาและปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมต่อไป

Advertisements

“DITP” ผู้ช่วยสนับสนุนแบรนด์ไทยขยายสู่ตลาดโลก

เมื่อ 30 ปีก่อน ต่างชาติมักจะมองว่าไทยเป็นโรงงานและแหล่งผลิตที่สำคัญ เราจึงไม่ต้องทำอะไรมาก รออยู่เฉยๆ ลูกค้าก็จะมาหาเราเอง แต่ปัจจุบันทุกอย่างมันเปลี่ยนไปแล้ว หากเรามัวแต่อยู่เฉยๆ ธุรกิจไปต่อไม่ได้แน่นอน จึงตัดสินใจเริ่มพัฒนาสินค้าและการออกแบบ เพื่อสร้างแบรนด์ของตัวเอง ซึ่งโชคดีที่รู้จักและไปสมัครร่วมโครงการกับ DITP หรือ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ช่วยผลักดันผู้ประกอบการไทยไปสู่การส่งออกตั้งแต่ต้นกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นการให้คำปรึกษาเบื้องต้น มีผู้เชี่ยวชาญในแต่ละประเทศแนะนำเรื่องการออกแบบ การจัดงานแสดงสินค้าที่ต่างประเทศ ไปจนถึงการประสานงานกับคู่ค้าในต่างประเทศ

ผู้ประกอบการที่สนใจปรึกษากับ DITP ต้องเริ่มต้นและเตรียมตัวอย่างไร?

ก่อนเข้าไปปรึกษากับ DITP คุณอนุพลแนะนำว่าต้องรู้จักตัวตนแบรนด์ตัวเองก่อนว่าทำอะไร อยากเจาะตลาดไหน และอยากขายให้ใคร เมื่อเราค้นพบคำตอบเหล่านี้แล้ว ก็สามารถไปรับคำปรึกษากับได้เลย โดย DITP มีหน่วยงานอยู่ทั่วโลก และมักจะมีกิจกรรม นิทรรศการ งานแสดงสินค้า รวมถึง Workshop หากสนใจก็สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการต่างๆ ได้ และวันหนึ่งเราก็สามารถเข้าไปโชว์สินค้าในงานต่างๆ ที่ DITP จัดขึ้น เพื่อสนับสนุนนักออกแบบและผู้ประกอบการไทยได้

นอกจากนี้ DITP ยังช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการไทยผ่านการพรีเซนต์สินค้าและบริการต่างๆ ช่วยดึงดูดและสร้างความมั่นใจให้ผู้คนที่มาเดินชมงานแสดงสินค้าได้ ทำให้บูธของเรายิ่งมีความน่าสนใจ มีตัวตน และมีหน่วยงานที่น่าเชื่อถือคอยสนับสนุน เพราะหากเราไปด้วยตัวเองคงติดขัดหลายๆอย่างแน่นอน

คุณอนุพลแนะนำเพิ่มเติมว่ากุญแจสู่ความสำเร็จ (Key Success Factor) ในการออกแสดงสินค้าที่ต่างประเทศ คือ การทำการบ้านและศึกษาข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบสินค้าต้องดึงดูดและตามเทรนด์โลก ศึกษาข้อมูลว่าบูธข้างๆ คือใคร จะโชว์สินค้าแบบไหนบ้าง และการเข้าใจรูปแบบชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มเป้าหมาย

นอกจากนี้ สำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่สนใจอยากเปิดโอกาสให้ธุรกิจมากขึ้น จำเป็นต้องรู้จักตัวตนของแบรนด์ รู้ว่ากลุ่มเป้าหมายเป็นใคร และหาแนวทางหรือวิธีที่ถูกจุด อีกทั้งหาหน่วยงานที่คอยสนับสนุนและให้คำปรึกษาที่ดี อย่าง DITP ที่พร้อมจะสนับสนุนให้ธุรกิจไทยก้าวออกไปสู่เวทีโลกได้อย่างมั่นใจ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ DITP Call center โทร.1169 หรือ 
สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าไลฟ์สไตล์ โทร. 0 2507 8363

 

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า