‘Cost of Inaction’ เพราะการอยู่เฉยไม่ทำอะไร ก็มีราคาที่ต้องจ่ายเช่นกัน

840
1920x1080 Cost of Inaction

Mission To The Moon X SCG Roof Expert

มีคำกล่าวที่ว่า “การไม่ลงมือทำนั้นเป็นเรื่องง่าย เพราะมันไม่ต้องใช้ความพยายามอะไร และบางครั้งอาจไม่ต้องรับผิดชอบอะไรด้วย” จนบางคนคิดไปว่า “การไม่ทำ” นั้นเป็นพื้นที่ปลอดภัยที่ไม่ต้องก้าวเท้าไปเสี่ยง

แต่ในทางกลับกัน การ “ไม่ทำ” บางอย่าง นั้นก็หมายถึงการต้องสูญเสียบางอย่างด้วย ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม เพราะทุกๆ การกระทำของเรามี “ต้นทุน” เสมอ รวมถึงการ “ไม่ทำ” ด้วย

ในภาคธุรกิจ อาจคุ้นเคยกับคำว่า “ROI – Return on Investment” หรือผลตอบแทนจากการลงทุน เป็นสิ่งสำคัญในการวิเคราะห์ทางการเงิน ก่อนตัดสินใจทำอะไรบางอย่างว่า เราจะทำเงินได้คุ้มค่ากับการลงทุนไปไหม หรือพูดง่ายๆ ก็คืออัตรา “กำไร” ที่งอกเงยจากสิ่งที่ลงทุนไปนั่นเอง

แต่จริงๆ แล้วยังมีคำอีกหนึ่งคำที่น่าสนใจไม่แพ้กัน นั่นคือคำว่า “Cost of Inaction” (COI) หรือ ต้นทุนของการอยู่เฉย

เมื่อการไม่ทำอะไร ก็มีราคาที่ต้องจ่าย

มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับบริษัทที่ผลิตและจัดจำหน่ายขนมขบเคี้ยวแห่งหนึ่ง ที่มีโรงงานผลิตอยู่หลายแห่ง ทุกอย่างกำลังดำเนินไปด้วยดี แต่แล้วบริษัทกลับพบว่า มีโรงงานแห่งหนึ่งไม่สามารถผลิตขนมได้ตามเป้า เมื่อให้ช่างตรวจสอบลงไป ก็เจอว่าเครื่องจักรตัวหนึ่งมีฟันเฟืองทำงานผิดปกติ แม้จะผลิตขนมออกมาได้ แต่ก็ได้จำนวนน้อยกว่าที่ควรจะเป็น

เครื่องจักรที่ทำงานช้า ทำให้โรงงานนั้นผลิตได้น้อยลง เมื่อผลิตได้น้อย ก็มีส่งไม่เพียงพอ หากคำนวณความสูญเสียแล้ว บริษัทต้องเสียรายได้มูลค่าถึง 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี แต่ค่าซ่อมแซมเครื่องจักรนั้นประเมินออกมาแล้ว เป็นราคาเพียงเศษเสี้ยวเล็กๆ เมื่อเทียบกับมูลค่าที่ต้องเสียไปทุกปี

แต่บริษัทกลับปฏิเสธการซ่อม ด้วยเหตุผลว่า ยังไม่มีงบสำหรับการซ่อมแซมนี้ เพราะโดยปกติโรงงานจะเปิดงบสำหรับการซ่อมบำรุงเป็นรอบๆ แต่ไม่ใช่สำหรับตอนนี้ ทีมช่างจึงถามย้ำว่า คุณจะยอมเสียรายได้ไปถึง 1.5 ล้านต่อปีหรือ?

สิ่งที่บริษัทตอบก็คือ เมื่อคำนวณ ROI แล้ว บริษัทจะยังคงได้กำไรที่น่าพอใจอยู่ดี

แนวคิดนี้ของบริษัทขนม สะท้อนว่าบริษัทคิดถึง ROI เพียงอย่างเดียว โดยไม่คิดถึง COI หรือต้นทุนของการไม่ทำบางสิ่งเลย ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาลที่ต้องสูญเสียไป

Advertisements

ชีวิตประจำวันของเราก็มี “ต้นทุนการอยู่เฉย” เช่นกัน

ไม่ใช่แค่ในโรงงาน แต่ต้นทุนของการอยู่เฉยยังปรากฏอยู่ในหลายๆ สิ่ง แม้กระทั่งการใช้ชีวิตในบ้านของเราในทุกๆ วัน

ในตอนนี้เราเริ่มกลับมาทำงานในออฟฟิศกันแล้ว และหลายคนน่าจะสบายใจขึ้น ที่ไม่ต้องทนทำงานที่บ้าน ท่ามกลางอากาศที่ร้อนอบอ้าวทุกวัน ซึ่งจะเปิดเครื่องปรับอากาศทั้งวันก็แบกรับค่าไฟไม่ไหว เพราะการคำนวณค่าไฟของเราเป็นการคำนวณ “ค่าไฟแบบอัตราก้าวหน้า” คือ หากใช้มากก็จ่ายมาก เพราะมีการคิดราคาหน่วยไฟฟ้าที่ใช้เป็นแบบขั้นบันได หากใช้ไฟฟ้ามากขึ้นก็จะถูกนำไปคิดราคาในช่วงหน่วยไฟฟ้าที่สูงขึ้น ค่าไฟจึงแพงแบบก้าวกระโดด

ย้อนกลับไปในวันที่เราต้อง Work From Home อากาศที่ร้อน งานที่หนัก และการประชุมที่มากมาย คงทำให้เรารู้สึกหงุดหงิด ไม่มีสมาธิทำงาน บางคนต้องนอนดึกมากๆ เพราะงานที่ควรทำให้เสร็จตอนกลางวันกลับไม่เสร็จ ต้องลากยาวมาทำกลางคืน ซึ่งอากาศเริ่มเย็นลงแล้ว กว่างานจะเสร็จสิ้นแต่ละคืน ก็ทำให้สุขภาพกายและใจย่ำแย่ไปหมด และยังไม่อาจแน่ใจได้ว่า เราจะต้องกลับมา Work From Home กันอีกไหม เพราะไวรัสสายพันธุ์ใหม่ๆ มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ซึ่งหมายถึงว่า หากโควิด-19 ระบาดหนักอีกครั้ง เราอาจต้องกลับมาหงุดหงิดกับอากาศร้อนและความเคร่งเครียดในบ้านเหมือนเดิม

ขจัด “ต้นทุนของการอยู่เฉย” เพื่อชีวิตที่ดีกว่าเดิม

อย่างไรก็ตาม หากข่าวดีคือไวรัสหยุดแพร่ระบาด และเราสามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่บ้านก็ยังเป็นที่พักพิงสุดท้าย ที่เราจะกลับไปทิ้งตัวพักผ่อนอยู่เสมอ ในวันที่เหนื่อยล้า การได้เปิดเครื่องปรับอากาศเย็นฉ่ำดังที่ใจคิด โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าไฟ ก็เป็นวิธีง่ายๆ ที่จะช่วยฟื้นฟูร่างกายและจิตใจของเราให้ดีขึ้นได้

ซึ่งในปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีมากมายที่ช่วยเรื่องการประหยัดไฟในบ้าน อย่างเช่นการติดตั้งหลังคาโซลาร์ หรือ โซลาร์ รูฟ ที่เหมาะอย่างยิ่งกับเมืองไทยที่เป็นเมืองร้อน เพราะเราจะได้รับแสงอาทิตย์ที่มากพอจนสามารถแปลงมาเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ และระบบหลังคาโซลาร์ก็เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการรับและแปลงพลังงานนั้น

โดยปัจจุบันนี้ หลังคาโซลาร์มีอยู่ด้วยกัน 3 ระบบ คือ

  1. On Grid: ที่เป็นการเชื่อมต่อกับ Grid ของการไฟฟ้า ซึ่งผลิตไฟได้เฉพาะตอนมีแสงแดดเท่านั้น ระบบนี้ได้รับความนิยมมากที่สุดและมีราคาถูก
  2. Off Grid: เป็นระบบที่ไม่ต้องต่อกับ Grid ของการไฟฟ้า แต่จะใช้แบตเตอรี่เพื่อเก็บพลังงานไฟฟ้าจากการผลิต เมื่อไฟที่เก็บในแบตเตอร์รี่หมดก็จะไม่มีไฟฟ้าใช้ แต่เป็นระบบที่มีราคาแพง และใช้เวลายาวนานในการคืนทุน
  3. Hybrid: แบบสุดท้ายนี้เป็นลูกผสมของสองแบบแรก คือมีทั้ง Grid สามารถเชื่อมต่อระบบของการไฟฟ้าได้ และมีแบตเตอรี่ แต่ก็มีราคาแพงเช่นกัน

โดยทั่วไปหลังคาโซลาร์จะมีหลักการทำงานคือ รับแสงอาทิตย์ผ่านแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาเป็นไฟฟ้ากระแสตรง และผ่านอินเวอร์เตอร์เพื่อแปลงเป็นกระแสสลับให้ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า จากนั้นส่งกระแสไฟที่ได้ไปยังตู้ไฟฟ้าหรือตู้เบรกเกอร์ เพื่อส่งไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ภายในบ้าน

ถ้าหากเราเลือกใช้หลังคาโซลาร์แบบ On Grid นั่นหมายถึงว่า ในตอนกลางวันที่มีแดด เราจะสามารถใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ทำให้ไม่ต้องใช้ไฟจากการไฟฟ้า จึงสามารถลดค่าไฟลงได้นั่นเอง

และในปัจจุบันนี้หลังคาโซลาร์ไม่ได้ใหญ่เทอะทะ ทำลายภาพรวมของดีไซน์บ้านเหมือนแต่ก่อนแล้ว เพราะมีผู้ให้บริการอย่างเช่น SCG Solar Roof Solutions ที่คิดค้นนวัตกรรม Solar Fix ที่สามารถติดตั้งแผงโซลาร์ได้อย่างสวยงาม ไม่เห็นท่อสายไฟ และไม่ต้องเจาะหลังคา ทำให้หลังคาไม่รั่วซึม มาพร้อมกับ Solutions ที่ครบวงจร ได้แก่

Advertisements
  • การตรวจสุขภาพหลังคา เพื่อแก้ไขปัญหาหลังคาก่อนติดตั้ง เสริมสร้างประสิทธิภาพและความปลอดภัยให้กับการทำงานของระบบโซลาร์มากขึ้น
  • ออกแบบระบบโซลาร์ ให้มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าได้สูงสุด  ตามทิศทางบ้านและปริมาณการใช้ไฟให้เหมาะสมกับบ้านของท่าน
  • ติดตั้ง โดยช่างมืออาชีพจาก SCG  ไม่ต้องกังวลเรื่องหลังคารั่วซึม
  • ดำเนินการเรื่องเอกสารกับภาครัฐ เพื่อขออนุญาตติดตั้งตลอดกระบวนการ 
  • และมีบริการหลังการขาย ที่คอยแนะนำ ตรวจเช็กระบบอยู่เสมอ  
  • ที่สำคัญมีการรับประกันให้มากถึง 25 ปี  ซึ่งเมื่อคิดต้นทุนจริงๆ แล้วจะคืนทุนภายใน 7-10 ปีเท่านั้น  อีกหลายสิบปีที่เหลือนับว่าเป็นกำไรที่เจ้าของบ้านจะได้รับ

ซึ่งระบบหลังคาโซลาร์ของ SCG Solar Roof Solutions นั้นช่วยลดค่าไฟลงได้มากถึง 60% และยังสามารถเช็กยอดเงินที่ประหยัดได้แบบเรียลไทม์ผ่านแอปพลิเคชันด้วย

และที่สำคัญ SCG ยังมีบริการ SCG Roof Expert ที่ช่วยดูแลงานกระเบื้องหลังคา ทั้งงานมุงหลังคาบ้านใหม่ และงานซ่อมแซมหลังคารั่วและเก่า ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาระบบหลังคามาเพื่อแก้ปัญหาการใช้ชีวิตของผู้คนในยุคสมัยใหม่ให้สมาร์ทยิ่งขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม

สำหรับใครที่รู้สึกว่า ระบบหลังคาโซลาร์นั้นมีราคาแพงและไม่คุ้มค่าที่จะติด อาจต้องพิจารณากันใหม่อีกที เพราะถ้าหากเราย้อนดูค่าไฟที่ต้องเสียไปกับการใช้ไฟในแต่ละเดือน เมื่อนั้นเราจะมองเห็น Cost of Inaction หรือต้นทุนของการไม่ทำอะไร ซึ่งก็คือค่าไฟที่เราต้องเสียต่อไปทุกเดือน เมื่อรวมกันหลายสิบปี เราจะพบว่าค่าไฟที่เกิดขึ้นนั้นมีราคาแพงกว่าระบบหลังคาโซลาร์เสียอีก

ดังนั้น การเลือกติดระบบหลังคาโซลาร์ ด้วยแบรนด์ที่การันตีคุณภาพอย่าง SCG ซึ่งมีนวัตกรรมที่ลดค่าไฟที่ใช้ในบ้านของเราอย่างยั่งยืน ก็จะทำให้เราไม่ต้องเสีย Cost of Inaction ไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งถ้าหากใครสนใจระบบหลังคาโซลาร์ของ SCG Solar Roof Solutions และบริการ SCG Roof Expert ก็สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.scgbuildingmaterials.com/th/product/roof

 

Advertisements

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่