รีวิวหนังสือ: Payoff

2381
หนังสือ Payoff
หนังสือ Payoff
มีเวลาไม่เยอะอยากอ่านสั้นๆ
  • หนังสือเล่มนี้เปลี่ยนความคิดของเราเกี่ยวกับเรื่อง แรงจูงใจ, ผลตอบแทนหรือสิ่งที่คิดว่าจะสร้างแรงจูงใจได้, ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน ผ่านการทดลองที่น่าสนใจเกี่ยวกับจิตใจของคน

หนังสือเขียนโดย แดน อารีลีย์ (Dan Ariely) เป็นอีกเล่มจากนักเขียนคนดัง ผมถูกใจเล่มนี้มากเพราะมันบางดี รู้สึกมีกำลังใจเวลาอ่าน แต่หนังสือเล่มนี้ไม่ได้เป็นหนังสือที่อ่านผ่านได้เร็วมากนัก เพราะเวลาอ่านแล้วต้องคิดเยอะ 

เนื้อหาหนังสือโดยรวมยังคงความเป็น แดน อารีลีย์ ที่เราคุ้นเคยได้เป็นอย่างดีคือเต็มไปด้วยเรื่องของการทดลอง และทดสอบเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับจิตใจของคน อย่างเรื่องนึงที่ผมเคยเขียนถึงไปแล้วก็น่าสนใจมากเป็นเรื่องเกี่ยวกับ การรับรู้ กับผลงานของคนที่ทำออกมา

การทดลองสภาวะการรับรู้ ของ แดน อารีลีย์

ในการทดลองนี้มีการพิมพ์จดหมายออกมาแบบสุ่ม แต่ละฉบับจะมีจดหมายที่เหมือนกันอยู่หลายๆคู่ ผู้เข้าทำการทดลองจะได้รับการบอกให้จับคู่จดหมายที่เหมือนกัน 

เมื่อผู้เข้าร่วมการทำลองจับคู่จดหมายคู่แรกเสร็จ พวกเขาจะได้รับเงิน 55 เซนต์ และเขาก็จะถามผู้เขาร่วมทำการทดลองต่อว่าอยากจะทำต่อไหม แต่คราวนี้ถ้าทำเสร็จจะได้เงินน้อยลงทีละ 5 เซนต์นะ (จับคู่ต่อไปเสร็จได้ 50 เซนต์)

ในการทดลองนี้มีการเซ็ต สภาะวะแวดล้อมไว้ 3 อย่างด้วยกันคือ 

1. สภาวะแรก คือ สภาวะ “acknowledged” หรือ “รับรู้” 

ในสภาวะการทดลองนี้ผู้เข้าร่วมการทดลองจะเขียนชื่อของตัวเองไว้บนกระดาษมุมซ้ายบนสุด แล้วลงมือจับคู่จดหมาย และเดินเอาจดหมายไปให้ผู้ควบคุมการทดลอง ผู้ควบคุมการทดลองจะตรวจดูจดหมายอย่างละเอียดตั้งแต่หัวจรดท้ายว่ามีการจัดคู่มาอย่างถูกค้องจริงๆ และพูดคำว่า “อะฮะ” คว่ำหน้าจดหมายลง แล้วผู้ควบคุมการทดลองจะถามผู้เข้าร่วมการทดลองว่าอยากจะทำการจับคู่จดหมายอีกไหม แต่คราวนี้จะได้เงินน้อยลงคู่ละ 5 เซนต์นะ หรือว่าจะหยุดแล้วรับเงินเท่ากับงานที่ทำมาเลยก็ได้ ถ้าหากผู้เข้าร่วมการทดลองต้องการจะทำต่อ กระบวนการก็จะดำเนินต่อไป 

2. สภาวะที่สอง คือ สภาวะ “ignored” หรือ “ไม่สน” 

ในสภาวะการทดลองนี้ ผู้เข้าร่วมการทดลองไม่ต้องเขียนชื่อ

ตัวเองลงบนจดหมาย และตอนที่ยื่นจดหมายให้ผู้ควบคุมการทดลอง ผู้ควบคุมการทดลองจะไม่สนใจตรวจดูจดหมายเลย แต่จะวางคว่ำหน้าจดหมายไว้บนโต้ะแบบไม่ใส่ใจไยดี แล้วผู้ควบคุมการทดลองจะถามผู้เข้าร่วมวการทดลองว่าอยากจะทำการจับคู่จดหมายอีกไหม แต่คราวนี้จะได้เงินน้อยลงคู่ละ 5 เซนต์นะ

ถ้าเทียบกับสภาวะแรก พูดง่ายๆว่างานมันดูมีความหมายน้อยลงไป (less meaningful)

3. สภาวะที่สามคือ สภาวะ “shredded”  หรือ “ช่างแม่ง”

ผมขอเรียกแบบหยาบๆนิดนึงว่าเป็นสภาวะแบบ ”ช่างแม่ง” คือ ผู้เข้าร่วมการทดลองไม่ต้องเขียนชื่อตัวเองลงบนจดหมาย และ และตอนที่ยื่นจดหมายให้ผู้ควบคุมการทดลอง ผู้ควบคุมการทดลองจะไม่สนใจตรวจดูจดหมายเลย แต่จะใส่มันลงไปในเครื่องย่อยกระดาษที่อยู่ข้างๆ ตัวเขาทันที แล้วผู้ควบคุมการทดลองจะถามผู้เข้าร่วมวการทดลองว่าอยากจะทำการจับคู่จดหมายอีกไหม แต่คราวนี้จะได้เงินน้อยลงคู่ละ 5 เซนต์นะ

คุณคงคิดว่าตั้งแต่สภาวะแบบ “ไม่สน” เนี่ย ผู้เข้าร่วมทำการทดลองน่าจะมีแรงจูงใจทีจะโกงคือไม่ต้องจับคู่จดหมายก็ได้ และแรงจูงใจนี้น่าจะสูงมากขึ้นไปอีกในสภาวะแบบ “ช่างแม่ง” เพราะยังไงๆ ซะผู้ควบคุมการทดลองก็ไม่มีการตรวจสอบความถูกต้องอยู่แล้ว ดังนั้นด้วยตรรกะนี้เราต้องคิดว่าคนที่อยู่ในการทดลองในสภาะวะ “ไม่สน” และ “ช่างแม่ง” ควรจะอยู่ในการทดลองนานขึ้นเมื่อเทียบกับสภาวะ ”รับรู้” เพื่อให้ได้เงินมากที่สุดใช่ไหม เพราะยังไงเงินก็ได้เห็นๆอยู่แล้วเพราะไม่มีใครตรวจไม่เหมือนกับสภาวะ “รับรู้” ที่มีคนตรวจตลอดเวลา

Advertisements

แต่ผลการทดลองมันออกมาเป็นแบบนั้นจริงไหม?


สิ่งที่ แดน อารีลีย์ ค้นพบ

ในสภาวะการทดลองแบบ “รับรู้” นั้น ผู้เข้าร่วมการทำลองทำงานไปจนราคาที่จ่ายเหลือเฉลี่ยประมาณ 15 เซนต์ ซึ่งเป็นราคาที่บอกว่าทำต่อก็ไม่คุ้มเวลาของเขาแล้ว 

ตรงกันข้ามในสภาวะแบบ “ช่างแม่ง” ผู้เข้าร่วมการทดลองหยุดทำงานเร็วกว่ามากที่ราคาเฉลี่ยประมาณ 29 เซนต์ ในขณะที่ในสภาวะแบบ “ไม่สน” ผู้เข้าร่วมการทดลองหยุดทำงานที่ราคาเฉลี่ยใกล้เคียงกันคือ 27.5 เซนต์

เรื่องนี้บอกเราได้ 2 อย่าง

1. ถ้าคุณต้องการที่จะทำลายกำลังใจคนที่ทำงานด้วย การทำแบบ “ไม่สน” หรือ “ช่างแม่ง” นั้นมีผลใกล้เคียงกัน ดังนั้นเพื่อไม่ให้เปลืองแรงก็ทำแบบช่างแม่งไปเลยก็ได้ ไม่ค่อยมีอะไรต่างกันเท่าไร เพราะเมื่อขาดการรับรู้ถึงความสำคัญของงานที่ทำไปแล้ว คนทำงานก็ขาดแรงจูงใจที่จะทำงาน

2. เวลาคนได้รับการรับรู้ถึงการทำงานของเขา คนเรามักจะยินดีทำงานหนักขึ้นแม้อาจจะไม่ได้เงินเพิ่มขึ้นตามงานที่หนักขึ้นก็ตาม การรับรู้ถึงงานที่คนทำจึงเป็นสิ่งที่มีค่ามากๆ เป็นเหมือนของขวัญที่คนหนึ่งคนจะมอบให้อีกคนได้ แม้อาจจะเป็นเหมือนสิ่งเล็กน้อยแต่การทำอย่างต่อเนื่องมันจะสามารถสร้างผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ได้ การสร้างแรงจูงใจจึงไม่จำเป็นจะต้องใช้เงินแต่เพียงอย่างเดียว

แดน อารีลีย์ ยังทำการทดลองทำนองนี้อีกหลายอย่างและผลที่ออกมาก็คล้ายๆ กันเกือบหมด


หนังสือเล่มนี้ทำให้เราเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับเรื่อง 

  1. แรงจูงใจ
  2. ผลตอบแทนหรือสิ่งแลกเปลี่ยนที่คิดว่าจะสร้างแรงจูงใจได้ 
  3. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน

ถ้าจะให้ผมยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากที่สุดเลยก็คือว่า อ่านหนังสือเล่มนี้จบแล้วจะทำให้เวลาคุณส่อีเมลครั้งต่อไป คุณจะระลึกได้ว่ามี “คน” จริงๆ ต้องเปิดอีเมลฉบับนี้อ่าน อยู่อีกข้างนึงของจอคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะอยู่ในดึกเดียวกันนี้หรืออีกฝากนึงของโลก เขาเหล่านั้นก็เป็น “คน” และถูกโน้มน้าว โดย อารมณ์ ความอ่อนไหว กิเลส ไม่ต่างจากเราเช่นกัน 

เป็นหนังสือแนวกึ่งจิตวิทยาที่อ่านง่ายสุดแล้วนะครับ สำหรับแฟนๆของ แดน อารีลีย์ ก็ควรจะต้องมีติดบ้านไว้ซักเล่ม

ใครยังไม่เคยอ่านหนังสือของ แดน อารีลีย์ เลย จะเริ่มที่เล่มนี้ก็ไม่เลวครับ 

Advertisements

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่