รีวิวหนังสือ: How Stella Saved The Farm

494
มีเวลาไม่เยอะอยากอ่านสั้นๆ
  • เป็นหนังสือที่ทำให้เรื่องธุรกิจนั้นเข้าใจง่ายโดยพูดถึงการสร้างนวัตกรรม การทำไอเดียให้ออกมาเป็นแผนการและนำไปสู่การลงมือทำจริง เป็นหนังสือที่ทำให้เรื่องธุรกิจนั้นเข้าใจง่าย

หนังสือเล่มนี้มีหลายแง่มุมที่ผมชอบมาก เพราะทำเรื่องที่เข้าใจยากๆให้ย่อยง่าย การเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ผ่านคาแรกเตอร์ที่เป็นสัตว์ต่างๆ ทำให้เราเข้าใจคอนเซปต์ของเรื่องได้ดีขึ้น

หนังสือเล่มนี้ใช้วิธีที่ฉลาดมากในการอธิบาย และทำให้หนังสือธุรกิจอ่านง่ายขึ้นมาก ผมเดาว่าใครๆก็สามารถอ่านหนังสือเล่มนี้จบภายในเวลาชั่วโมงครึ่งได้ ซึ่งเป็นเวลาที่ค่อนข้างน้อยทีเดียวสำหรับหนังสือประเภทนี้

หนังสือเล่มนี้โฟกัสไปที่อย่างหนึ่งคือ เราจะสร้างนวัตกรรมขึ้นมาอย่างไรเมื่อเราต้องการ อีกทั้งจะสามารถจัดการกับความเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาพร้อมกับนวัตกรรมนั้นอย่างไร บริษัทของผมก็เคยต้องเผชิญกับความท้าทายที่มาพร้อมกับนวัตกรรมเหล่านี้ เช่น เราจะสามารถเพิ่มยอดขายและกำไรให้ได้เป็น 3 เท่า ภายในเวลา 2 ปีได้อย่างไร ทั้งที่เราต่างเข้าใจว่านวัตกรรมใหญ่ๆมักมาพร้อมกับความเสี่ยง แต่หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้เราสามารถเห็นความเสี่ยงและทำให้มันเกิดน้อยลงได้

น่าแปลกนะครับ ที่ความเสี่ยงส่วนใหญ่มาจากสิ่งที่เรามองไม่ค่อยเห็น ผมสรุปสิ่งที่ได้จากการอ่านหนังสือเล่มนี้ไว้สั้นๆเพื่อนำไปใช้ในชีวิตจริงแบบนี้ครับ

สิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้ก็คือ “ไอเดียนั้นฟรี” และมันก็เป็นจุดเริ่มต้นของอะไรหลายๆอย่าง ผมเห็นสตาร์ทอัพมากมายก็เริ่มต้นจากการมีไอเดียที่ดี และพวกเขาก็ดันคิดว่า 90% ของงานเสร็จแล้ว แต่ไม่ครับ มันไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไป (นอกเสียจากว่าคุณทำธุรกิจแบบ “ตีหัวเข้าบ้าน”) ขั้นตอนของการทำไอเดียให้เป็นแบบแผนแล้วใช้มันให้ถูกที่นั้นซับซ้อนมากกว่าสิ่งที่คนคิดอยู่มาก เหมือนที่เขาพูดว่า “มีปีศาจซ่อนอยู่ในรายละเอียด” (The devil is in the detail)

Advertisements

สิ่งหนึ่งที่ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับหนังสือเล่มนี้คือ วิธีที่เร็วที่สุดที่จะสร้างนวัตกรรมในบริษัทคือต้องมีทีมงานที่ดีคอยดูแลมันด้วย ผมขอเรียกมันว่า “ทีมสตาร์ทอัพ” แล้วกันนะครับ คุณลองคิดตามดูว่า ไม่ว่าบริษัทจะสร้างขึ้นมาอย่างไรก็ตาม แต่ทีมนวัตกรรมนี้จะต้องคอยตรวจสอบสถานการณ์ของสตาร์ทอัพด้วย ดังนั้น เพื่อที่จะบรรลุนวัตกรรม พวกเขาต้องมีจิตวิญญาณของความเป็นสตาร์ทอัพ และความเป็นอิสระของความเป็นสตาร์ทอัพ (รวมถึงเรื่องข้อจำกัดด้วยเช่นกัน)

อีกไอเดียที่สำคัญคือ พวกเราไม่ควรประเมิณความสำเร็จของทีมนวัตกรรมแบบเดียวกับทีมปกติของธุรกิจ อย่างกำไรสุทธิระยะสั้นก็ไม่สามารถใช้ในบริบทนี้ได้ สิ่งที่เหมาะสมกว่าคือ “การทดลองทางวินัย” ซึ่งเราควรเริ่มจากการตั้งสมมติฐาน ทำนายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น วัดผลและ ประเมินบทเรียนที่เรียนรู้โดยการเปรียบเทียบกับผลลัพธ์จริง

สรุปคือ หนังสือเล่มนี้ค่อนข้างกระชับและช่วยเหลือใครก็ตามที่กำลังมองหาการจัดการนวัตกรรมในบริษัทของพวกเขาได้

Advertisements

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่