รีวิวหนังสือ: เปลี่ยนให้ปัง! ดังให้สุด

3440
หนังสือ เปลี่ยนให้ปัง! ดังให้สุด
หนังสือ เปลี่ยนให้ปัง! ดังให้สุด
มีเวลาไม่เยอะอยากอ่านสั้นๆ
  • หนังสือเล่มนี้พูดสิ่งที่ทุกคนจะต้องสนใจนั้นคือ “เรื่องของการเปลี่ยนแปลง”
  • ยุคนี้อาจจะไม่ใช่ยุคของญี่ปุ่นเหมือนเคย เพราะความต้องการความ ”สมบูรณ์แบบ” แบบสุดขั้วสไตล์ญี่ปุ่น เพราะต้องทดลองจนสมบูรณ์แบบก่อนที่จะขาย ในขณะที่ยุคนี้ สินค้าต้องออกให้รวดเร็วแล้วค่อยๆปรับให้ตรงใจผู้บริโภค
  • “เมื่อไรเราควรจะเปลี่ยนแปลง” เมื่อพูดถึงเงื่อนไขเวลา มาร์ก เฮิร์ด พูดไว้ได้น่าสนใจว่า “เวลาที่ดีที่สุดในการเปลี่ยนแปลงตัวเองคือเมื่อคุณชนะ”
  • “วิธีการ” ในการเปลี่ยนแปลงก็สำคัญ ไม่ใช่ทำกันแต่หัวๆ แต่ต้องทำได้ทั้งองค์กร

หนึ่งในคำถามที่ผมได้รับมากที่สุดใน อินบ็อกซ์ ของผมคือ “รู้สึกหมดไฟ ทำไงดี” คำตอบของผมจะคล้ายๆกันทุกครั้งครับ คือ “ไปวิ่ง” หรือ “หาหนังสือดีๆมาอ่าน”

ถ้าจะให้ดีกว่านั้น คือทำทั้งสองอย่าง หนังสือเล่มนี้ก็เข้าหมวดหนังสือที่เอามาอ่านได้เลย เวลาต้องการพลังใจ

วันก่อนคุณกิ๊ฟผู้เขียนให้เกียรติผมมาก เพราะอุตสาห์ลงทุนขับรถเอาหนังสือเล่มนี้มาให้ผมถึงที่ออฟฟิศ พร้อมของขวัญจาก สตาร์บัค อีกต่างหาก ขอบคุณมากๆเลยนะครับ

วันนี้ผมมีภารกิจแต่เช้า ซึ่งแต่ละภารกิจต้องนั่งรอตลอด เลยมีเวลาหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาอ่าน

หนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องที่ทุกคนต้องสนใจครับ คือเรื่องของการเปลี่ยนแปลง

จริงๆการเปลี่ยนแปลงมีหลายมิติมาก ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงความคิด อย่างตอนหนึ่งของหนังสือกล่าวเกี่ยวกับว่า ทำไมยุคนี้ถึงไม่ใช่ยุคของญี่ปุ่นอีกต่อไป 

มีหลายเหตุผลครับ แต่สองอย่างที่เขียนไว้ที่ผมชอบมากคือ การต้องการความ ”สมบูรณ์แบบ” แบบสุดขั้ว จึงต้องผ่านการทดลองครั้งแล้วครั้งเล่าจนมั่นใจสุดถึงผลิตและทำการตลาด

ถ้าคุณทำของที่เป็นของพรีเมี่ยมมากๆผมว่าวิธีคิดนี้โอเคครับ แต่พอมาปรับกับของที่เจอคู่แข่งแบบจีนและเกาหลีเข้าไป วิธีคิดนี้อาจจะต้องถูกทบทวนใหม่ 

อันนี้ขอเพิ่มความเห็นส่วนตัวเข้าไปนิดนึงว่า แนวคิดเรื่องการทำสินค้าให้ออกมาดีสุดๆนั้นสามารถใช้ได้กับของบางอย่างนะครับ แต่ว่าอาจจะใช้ไม่ได้กับทุกอย่าง และยิ่งถ้าบวกกับการที่ผู้ผลิตไม่คิดถึงผู้ใช้งานมากพอด้วยละก็ คราวนี้ความซวยก็จะมาถึง

คำว่า “ของดีต้องมีคนซื้อ” ซึ่งบริษัทญี่ปุ่นหลายบริษัทมั่นใจแบบนั้น และขอสารภาพเลยว่า ผมก็เคยมั่นใจแบบนั้น จนผ่านเหตุการณ์ไม่คาดฝันมาเยอะแล้ว ส่วนตัวที่ผมเจอเองเลย ตอนทำสินค้าต้องบอกว่าเราตั้งใจทำสินค้ามากๆ และสินค้าของเราอาจจะไม่ได้ปรับให้เข้ากับรสนิยมของผู้บริโภคดีพอ

สินค้าญี่ปุ่นก็เหมือนกันครับ ไม่ค่อยปรับให้เข้ากับรสนิยมของผู้บริโภคในท้องถิ่น 

Advertisements

ตัวอย่างที่หนังสือยกมาคือ กรณีโทรทัศน์ญี่ปุ่นที่ขายในอินเดีย ซึ่งชาวอินเดียชอบดูการแข่งขันคริกเก็ต และเมื่อชมละครหรือรายการอื่นก็อยากจะติดตามผลคริกเก็ตไปด้วย โทรทัศน์ญี่ปุ่นไม่ยอมปรับฟังก์ชั่นรองรับขณะที่โทรทัศน์ของเกาหลีมีฟังก์ชั่นซ้อนจอขนาดเล็กให้ดูคริกเก็ตไปพร้อมๆกันได้ นั่นทำให้โทรทัศน์เกาหลีครองตลาดในอินเดียอย่างง่ายดาย 

นี่คือเรื่องของวิธีคิดล้วนๆ

อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ “เมื่อไร” เราควรจะเปลี่ยนแปลง เอาแบบเป็นรูปธรรมจริงๆนะครับ ไม่ใช่ทำแบบลูบหน้าปะจมูก เมื่อพูดถึงเงื่อนไขเวลา ผมชอบสิ่งที่ มาร์ก เฮิร์ด (Mark Hurd) ซีอีโอ ของ ออราเคิล พูดไว้ว่า “เวลาที่ดีที่สุดในการเปลี่ยนแปลงตัวเองคือเมื่อคุณชนะ” ครับ

คุณกิ๊ฟก็มีแนวคิดคล้ายๆกันครับ 

เพราะในหลายๆองค์กรมักจะพยายามเริ่มเปลี่ยนแปลงเมื่อทุกอย่างสายเกินไป เมื่อยอดกำลังตก พนักงานกำลังออก เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เราตามไม่ทัน หรือเมื่อคู่แข่งที่ตอนแรกไม่น่าสนใจกลายเป็น “หอกข้างแคร่ที่น่ากลัว” 

วันที่คุณกิ๊ฟมาหาวันก่อนยังนั่งคุยกันเล่นๆเลยว่าถ้าเฟซบุ๊ก เอาจริงเอาจังกับการทำระบบชำระเงิน (payment gateway) ขึ้นมาละก็จะเกิดอะไรขึ้น ทุกการซื้อขายจะสามารถจบได้ใน messenger (แชทของเฟซบุ๊ค) คงจะสร้างแรงกระเพื่อมในอุตสาหกรรมได้ไม่น้อย

ตอนพยายามเปลี่ยนแปลงในองค์กร “วิธีการ” ในการเปลี่ยนแปลงก็สำคัญ ไม่ใช่ทำกันแต่หัวๆ แต่ต้องทำได้ทั้งองค์กร เพราะฉะนั้นไม่ว่ากลยุทธ์ของการเปลี่ยนแปลงจะซับซ้อนขนาดไหน แต่สารที่ส่งต้องเรียบง่ายและทุกอย่างต้องไปในทิศทางเดียวกัน

สุดท้ายเมื่อองค์กรเปลี่ยนแล้ว เปลี่ยนครบลูปแล้ว อย่าลืมเปลี่ยนตัวเองด้วย 

เช่น ถ้าคุณเป็นคน อีโก้ สูง หัวรั้นไม่ฟังใคร ในที่สุดแล้วกับดักที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นไม่ได้จะวกกลับมาที่ตัวคุณเองนี่แหละครับ

ในหนังสือยังมีเคสที่เปลี่ยนธุรกิจแล้วสำเร็จหลายเคสที่น่าติดตาม โดยสรุปแล้วคือหนังสืออ่านง่ายครับ แต่ได้แง่คิด และให้ “พลังใจ” ในการไปเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงได้ดีครับ 

Advertisements

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่