BUSINESSAsset Tokenization อนาคตแห่งโลกการเงินการลงทุน

Asset Tokenization อนาคตแห่งโลกการเงินการลงทุน

Asset Tokenization คืออะไร ทำไมถึงถูกจับตามองว่าเป็นอนาคตของโลกการเงินการลงุทน และจะมีโอกาสโตถึง 4-5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2030 ตามคาดการณ์ของหลายสถาบันหรือไม่

เมื่อประมาณ 3-5 ปี ที่แล้วนั้น เทคโนโลยี Blockchain อาจเป็นเพียง Buzzword ที่คนส่วนใหญ่อาจนึกไม่ออกว่าคืออะไร หรือเห็นภาพใหญ่ว่าเทคโนโลยีนี้ จะมีประโยชน์อะไร และจะมาทำให้ชีวิตเปลี่ยนไปอย่างไรได้บ้าง

เพราะในปัจจุบันนี้ เราเริ่มเห็นความสำคัญของเทคโนโลยี Blockchain ในการใช้ชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น ซึ่งสำหรับในโลกการเงินการลงทุน เทคโนโลยี Blockchain ได้ถูกนำมาใช้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเรื่องของการทำ Asset Tokenization ที่เป็นพูดถึงและจับตามองในตลาดการเงินโลก ถึงขั้นถูกขนานนามว่า คืออนาคตของตลาดการเงินการลงทุนเลยทีเดียว ซึ่งในประเทศไทยนั้น ผลิตภัณฑ์จากการทำ Asset Tokenization จะถูกเรียกในชื่อ “โทเคนดิจิทัล (Digital Token)” หรือ “Investment Token” ที่หลายคนอาจเคยได้ยินกันมาบ้างแล้ว

Larry Fink, CEO ของ BlackRock บริษัทจัดการการลงทุนที่ใหญ่สุดในโลกเองก็ยังกล่าวว่า “I believe the next generation for markets, the next generation for securities, will be tokenization of securities” และ Citi group ยังได้เผยรายงานและคาดการณ์ว่าตลาด Asset Tokenization จะโตถึง 4-5 Trillion USD ภายในปี 2030

ซึ่งเมื่อมองกลับมาที่ประเทศไทยของเราเอง ก็เพิ่งมี Movement สำคัญเกิดขึ้นเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
โดยทาง ครม. อนุมัติการยกเว้นการเก็บภาษีเงินได้และ VAT 7% สำหรับการเปิดระดมทุนผ่าน Investment Token ซึ่งเป็น Tokenized Asset รูปแบบหนึ่ง ที่เป็นการช่วยสนับสนุนช่องทางการระดมทุนใหม่ๆ กับบริษัทและเป็นทางเลือกในการลงทุนใหม่ให้กับเหล่านักลงทุนที่สนใจอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้ Mission To The Moon จึงได้มีโอกาสไปพูดคุยกับ คุณอภิญญา เรืองทวีคูณ Managing Director บริษัท Kubix Digital Asset ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลผ่านระบบ Blockchain (ICO Portal) ที่ได้รับใบอนุญาตอย่างเป็นทางการจาก ก.ล.ต. ถึงสถานการณ์และภูมิทัศน์ของโลกการลงทุนแห่งอนาคต รวมถึงศักยภาพและความเป็นไปได้ของตลาด Asset Tokenization ในประเทศไทยของพวกเราอีกด้วย

ทำความเข้าใจสิ่งที่เรียกว่า สินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset)

คอนเซปต์ของสิ่งที่เรียกว่า สินทรัพย์ดิจิทัล หรือ Digital Asset นั้นก็คือสินทรัพย์ประเภทต่างๆ เหมือนในโลกของเราแบบที่ทุกคนเข้าใจกัน ไม่ว่าจะเป็นเงิน วัตถุสิ่งของ หรืออสังหาริมทรัพย์ เพียงแต่ว่า สินทรัพย์ดิจิทัลนั้นมีตัวตนอยู่บนฐานข้อมูล (Database) ของเทคโนโลยีที่เรียกว่า Blockchain

ซึ่งประเด็นสำคัญของฐานข้อมูลที่อยู่ในเทคโนโลยี Blockchain นี้ก็คือความโปร่งใส น่าเชื่อถือ รวมถึงสามารถตรวจสอบได้

โดยเมื่อนำจุดเด่นของเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาผสมผสานกับอุตสาหกรรมการเงินแล้ว มันทำให้เกิดรูปแบบของสินทรัพย์ที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ก็คือ

1. คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency)

โดยคริปโทเคอร์เรนซีนี้เป็นหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนได้ จึงมีลักษณะคล้ายคลึงกับสกุลเงินต่างๆ ที่เรารู้จักกันดีนั่นเอง แต่ว่าคริปโทเคอร์เรนซีมีตัวตนในรูปแบบของหน่วยอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็น “สื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า บริการ หรือสิทธิ์อื่นใด” ซึ่งมูลค่าของคริปโทนั้นขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ซื้อและผู้ขายเป็นหลัก

Advertisements

2. โทเคนดิจิทัล (Digital Token)

โดย โทเคนดิจิทัล หรือ Digital Token เองก็มีตัวตนในลักษณะของหน่วยอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อ “กำหนดสิทธิ์” ของผู้เข้าร่วมลงทุนว่าจะได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง ซึ่งตามกฎหมายของไทยจะแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

[ ] โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Investment Token) โดยผู้ถือจะได้สิทธิ์ในการร่วมลงทุน ถ้ายังนึกภาพไม่ออก Investment Token จะมีความใกล้เคียงกับการที่เราถือหน่วยลงทุน ทางผู้ออก Token จะกำหนดส่วนแบ่งรายได้ กำไร ตามสัดส่วนโทเคนดิจิทัลที่เราร่วมลงทุน โดยรายได้ที่นำมาแบ่งให้เราจะมาจากผลการดำเนินงานของโครงการที่อยู่เบื้องหลังของ Investment Token นั้นๆ

[ ] โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ (Utility Token) โดยผู้ถือจะได้สิทธิในการใช้สินค้าและบริการ หรือสิทธิอื่นๆ จะคล้ายๆ กับการที่เราถือคูปอง เช่น โทเคนแลกรับสิทธิพิเศษ แลกตั๋วหนัง สิทธิ์เข้าคอนเสิร์ต สิทธิ์ในการแลก Exclusive benefit ต่างๆ เป็นต้น

โดยสิ่งที่หลายคนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลนี้ก็คือว่า สินทรัพย์ดิจิทัล จำเป็นที่จะต้องมีตัวตนและประโยชน์อยู่แต่ในโลกดิจิทัลเท่านั้น ซึ่งความเข้าใจนี้ไม่ใช้ความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างสมบูรณ์

สิ่งที่เป็นตัวกำหนดคุณค่าของสินทรัพย์ดิจิทัลก็คือ หน่วยที่ถูกกำหนดมาว่าสินทรัพย์ประเภทนี้นั้นเป็นตัวแทนของสินทรัพย์ประเภทใด โดยยกตัวอย่างเช่นโทเคนดิจิทัลบางโทเคนนั้นก็เป็นตัวแทนของการลงทุนในสินทรัพย์ที่เราสามารถจับต้องได้จริงๆ อย่างอสังหาริมทรัพย์ งานศิลปะ เพชร ทองคำ ภาพยนตร์หรือสิทธิ์ในการเข้าร่วมลงทุน ในโครงการต่างๆ นั่นเอง

แปลงสินทรัพย์เพื่อความมั่นคงด้วย Asset Tokenization

ถ้าให้อธิบายคอนเซปต์ของ Asset Tokenization นั้น ต้องเปรียบเทียบกับหลักการที่หลายคนน่าจะรู้จักกันดีอย่าง Securitization ซึ่งเป็นการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นการนำสินทรัพย์ของบริษัทหรือสถาบันการเงินประเภทลูกหนี้เงินกู้ต่างๆ ที่สร้างรายได้ประจำ แต่มีสภาพคล่องต่ำ มารวมกันเป็นกองสินทรัพย์สำหรับใช้เป็นหลักประกันในการออกตราสารทางการเงิน เช่นตั๋วเงินหรือหุ้นกู้เพื่อขายให้แก่นักลงทุน

ซึ่งกระบวนการนี้เองก็มีความคล้ายคลึงกับกระบวนการ Asset Tokenization เพียงแต่ว่า Asset Tokenization คือการนำสินทรัพย์ต่างๆ ทั้งที่จับต้องได้ เช่น อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ เครื่องประดับ งานศิลปะ และที่จับต้องไม่ได้ เช่น ตราสารหนี้ กองทรัสต์ หรือผลิตภัณฑ์ทางการเงิน มาแปลงให้กลายเป็นโทเคนดิจิทัลบน Blockchain โดยผูกกับมูลค่าของสินทรัพย์เพื่อใช้เป็นตัวแทนความเป็นเจ้าของสินทรัพย์นั้นๆ

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากสถาบันการเงินหนึ่งต้องการที่จะหาผู้ร่วมลงทุนจำนวนมาก มาร่วมกันเป็นเจ้าของตึกออฟฟิศตึกหนึ่ง เพื่อเป็นการดึงดูดให้คนนั้นสนใจมาร่วมลงทุน สถาบันการเงินนั้นจึงสร้าง “ตัวแทนความเป็นเจ้าของ” ของตึกนี้ขึ้นมาในรูปแบบของโทเคนดิจิทัลเป็นหน่วยย่อยๆ เป็นการอนุญาตและเปิดโอกาสให้ผู้คนมากขึ้นได้ถือสิทธิ์การเป็นเจ้าของตึกออฟฟิศตึกนี้ โดยที่พวกเขาไม่จำเป็นต้องลงทุนควักเงินเป็นล้านๆ เพื่อได้สิทธิ์ในการเป็นเจ้าของตึกแต่เพียงผู้เดียวนั่นเอง

ซึ่งกระบวนการ Asset Tokenization นี้เองก็สามารถถูกนำไปประยุกต์ใช้เข้ากับสินทรัพย์ได้หลากหลายประเภท ไม่ว่าจะตั้งแต่สิทธิ์ของการลงทุนในโครงการต่างๆ ไปจนถึงงานศิลปะของจิตรกรในอดีตเองก็สามารถถูกแปรเปลี่ยนมาเป็นโทเคนดิจิทัลแบบนี้ โดยที่ไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงของการทำให้ตัวทรัพย์สินเองต้องเสียหายจากการเคลื่อนย้ายหรือสูญหายแต่อย่างใดเลย ซึ่งกระบวนการนี้ก็เคยเกิดขึ้นแล้วในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่นำรูปภาพของ Picasso มาทำ Asset Tokeinzation ให้ผู้คนมากมายได้ร่วมแบ่งสิทธิ์การเป็นเจ้าของรูปภาพดังกล่าวนั่นเอง

Advertisements

ICO ใบเบิกทางของโทเคนดิจิทัล

หลายคนน่าจะเคยได้ยินชื่อของ IPO หรือ Initial Public Offering มาก่อนว่าเป็นการ ว่าเป็นการเสนอขายหุ้นครั้งแรกของบริษัทให้กับสาธารณชน ซึ่งจะทำให้บริษัท เปลี่ยนสถานะจากบริษัทเอกชน (Private Company) เป็นบริษัทมหาชน (Public Company) ที่อนุญาตให้นักลงทุนน้อยใหญ่ทั้งหลายได้มาร่วมลงทุนกัน ซึ่งการ IPO นี้เรียกได้ว่าเป็นการระดมทุนครั้งใหญ่จากมวลมหาชน ที่สามารถทำให้บริษัทได้ขยับขยายกิจการของตัวเองให้กว้างขวางขึ้นนั่นเอง

สำหรับสินทรัพย์ดิจิทัลเองก็เช่นกัน โดยเฉพาะกับโทเคนดิจิทัลนั่นก็คือ ICO หรือ Initial Coin Offering คือการระดมทุนที่ใช้เทคโนโลยี Blockchain เข้ามาช่วยเพื่อให้บริษัทที่ต้องการเงินทุนเสนอขายโทเคนดิจิทัลให้แก่ผู้ลงทุนที่สนใจ ผ่านความแตกต่างหลักระหว่าง ICO กับ IPO คือ ICO จะให้ผลตอบแทนที่มีความยืดหยุ่นมากกว่า IPO เพราะว่ามูลค่าโทเคนดิจิทัลของแต่ละบริษัทนั้นสามารถเป็นตัวแทนของทรัพย์สินประเภทใดก็ได้ เรียกได้ว่า ICO สามารถออกรูปแบบผลตอบแทนการลงทุนได้หลากหลาย ทั้ง Investment Return ได้ผลตอบแทนเป็นเงินลงทุน หรือ Utility Return ได้สิทธิประโยชน์ก่อนใครในโครงการที่ตัวเองเลือกลงทุน ซึ่งความยืดหยุ่นเหล่านี้ก็จะเป็นประโยชน์กับนักลงทุนที่จะมีตัวเลือกในการลงทุนที่หลากหลายและน่าสนใจยิ่งขึ้น ไม่เหมือนกับ IPO ที่จะครอบคลุมแค่หุ้นอย่างเดียว

อีกหนึ่งของข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่าง ICO และ IPO ก็คือ ICO นั้นมีลักษณะที่เรียกว่า “Project-based” หมายความว่าต่อให้เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อยู่แล้ว แต่ถ้าหากต้องการที่จะทำการระดมทุนให้กับโปรเจกต์ใหม่ของตัวเองนั้น ก็สามารถเลือกระดมทุนด้วยกระบวนการ ICO ได้ อีกทั้งยังสามารถออกแบบผลตอบแทนได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็น Fixed-return, Profit sharing หรือ Utility benefits ก็ได้เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะของสินค้าหรือโปรเจกต์

สิ่งสำคัญคือการ “กำกับ” และ “ควบคุม”

แน่นอนว่าเมื่อ ICO นั้นเป็นช่องทางการระดมทุนที่น่าดึงดูดใจและมีความยืดหยุ่นสูงอย่างนี้ คำถามที่ตามมาคือมันน่าเชื่อถือและมีการกำกับควบคุมหรือไม่ คำตอบคือ มี เพราะในประเทศไทยมีสำนักงาน ก.ล.ต. เป็นผู้กำกับดูแลโครงการ ICO และ ICO Portal กล่าวคือทุกโครงการ ICO ต้องดำเนินการผ่าน ICO Portal และมีการยื่นขออนุมัติและผ่านการตรวจสอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. จึงจะสามารถเสนอขายแก่นักลงทุนได้

ซึ่ง Kubix นั้นก็เป็น ICO Portal ในเครือบริษัทกสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) ที่ได้รับใบอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. ให้เป็นผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลในประเทศไทย มาทำหน้าที่ในการมาช่วยกำกับดูแล รวมถึง “กลั่นกรอง” บริษัทที่จะทำการออกโทเคนดิจิทัลในการระดุมทุนแต่ละทีว่า มีความสามารถในการรับผิดชอบในสิ่งที่ได้กล่าวไว้กับนักลงทุนหรือไม่

นอกจากกลั่นกรอง กำกับ และดูแลแล้ว ทาง Kubix ยังเป็นช่องทางเสนอขายโทเคนดิจิทัล ให้นักลงทุนที่มองหาช่องทางการลงทุนในรูปแบบใหม่ๆ และสนใจการลงทุนในโทเคนดิจิทัล สามารถลงทุนได้ผ่านแอปฯ Kubix ซึ่งนอกจากการลงทุนในโทเคนดิจิทัล ยังมีแคมเปญมอบสิทธิพิเศษต่างๆแก่ผู้ใช้ ตามคอนเซปต์ Invest Earn Experience อีกด้วย

อนาคตของ Blockchain และแวดวง Digital Asset ในประเทศไทย

ประเด็นสำคัญที่มีผลต่ออนาคตของแวดวง Digital Asset ทั้งในประเทศไทยและในระดับโลก คือ เรื่องของกฎเกณฑ์ กฎหมาย เนื่องจากเทคโนโลยีมันไปไว มีการนำไปทดลองใช้ทำอะไรใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา จึงเป็นประเด็นที่ว่ากฎหมายสามารถที่จะก้าวทันเทคโนโลยีเหล่านี้ได้หรือไม่

ในประเทศไทยเองก็ได้ถือว่ามีกฎหมายที่สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนและคุ้มครองนักลงทุนในตลาด Digital Asset ผ่าน พรก. สินทรัพย์ดิจิทัลขึ้นมาแล้ว ซึ่งทางสำนักงาน ก.ล.ต. เองก็ได้ออกมาประกาศรองรับ Digital Token ว่าเป็นสินทรัพย์ที่ได้มาผ่านกระบวนการที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเจ้าของเองก็มีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องค่าตอบแทนตามที่ตกลงกันไว้ได้อย่างเต็มที่ และยังมีการเปิด Hearing ปรับปรุงเกณฑ์การกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลอยู่เรื่อยๆ เพื่อให้สามารถก้าวทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปไวได้

และเมื่อวันที่ 7 มีนาคมที่ผ่านมา ก็เพิ่งมีข่าวสำคัญในวงการโทเคนดิจิทัลไทยที่ทาง ครม. เพิ่งมีอนุมัติการยกเว้นภาษีเงินได้และ VAT 7% ให้กับผู้ออกโทเคนดิจิทัล หลังจากที่ก่อนหน้านี้ การระดมทุนด้วย ICO นั้นจะถูกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อยู่ที่ 7 % ด้วยกัน ซึ่งถือเป็นโอกาสให้บริษัทมีช่องทางการระดมทุนผ่าน ICO ได้ดีขึ้น ต้นทุนใกล้เคียงกับการระดมทุนรูปแบบอื่นในตลาดทุน และเป็นทางเลือกใหม่แก่นักลงทุนที่สนใจอยากลองหาช่องทางการลงทุนใหม่ๆ ที่ให้ผลตอบแทนนอกเหนือจากตัวเงิน

ยกตัวอย่าง Case study สำคัญของตลาดโทเคนดิจิทัลไทย คือกรณีของ DESTINY TOKEN ที่ทาง Kubix เพิ่งปิดโครงการสำเร็จคืนเงินต้นพร้อมผลตอบแทนไปเมื่อเดือนก่อน DESTINY TOKEN ถือเป็น project-based ICO โครงการแรกของไทยที่นำเอาโครงการสร้างภาพยนตร์มาทำ Asset Tokenization เพื่อระดมทุนในรูปแบบของ investment token ที่ให้ผลตอบแทน fixed rate และมอบ Utility benefits อาทิ การเข้าร่วมกิจกรรมพิเศษกับนักแสดงนำ, รับของที่ระลึกต่างๆ มามอบให้เป็นผลตอบแทน และด้วยรูปแบบโครงการที่เข้าใจง่ายและผสมผสานกับเรื่องไลฟ์สไตล์ จึงสร้างความประทับใจแก่แฟนหนังที่ได้ร่วมลงทุนในโครงการนี้

ส่วนทิศทางของ Asset Tokenization ในตลาดโลกก็คึกคักไม่แพ้กัน มีหลายโครงการที่น่าสนใจที่เปิดตัวไปในช่วงต้นปี อาทิ Tokenized Green Bond ของรัฐบาลฮ่องกง , Tokenized Bond ของบริษัท Siemens หรืออย่าง BlackRock ก็ได้มีการประกาศศึกษาโครงการ Tokenized หุ้น และ พันธบัตร และเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมานี้ ทาง Citi group ก็ได้ออกรายงานคาดการณ์มูลค่าของตลาด Tokenized asset ทั่วโลกว่าจะมีมูลค่าสูงถึง $4-$5 Trillion ภายในปี 2030 ซึ่งมีสัดส่วนมาจากทั้งการ Tokenized real estate, Tokenized หุ้นและพันธบัตร, Tokenized private equity & venture capital และการ Tokenized สินทรัพย์อื่นๆ

แต่ก็อย่าลืมว่า ถึงแม้ว่าการลงทุนจะได้รับการปกป้องทางกฎหมายมากเพียงใด แต่ทุกการลงทุนนั้นก็ย่อมที่จะมีความเสี่ยงอยู่ดี เทคโนโลยีของ Blockchain นั้นยังอยู่ในระยะเริ่มต้นเพียงเท่านั้น มีศักยภาพให้เติบโตได้อีกมากมาย ดังนั้นถ้าหากใครที่กำลังสนใจอยากจะลงทุนใน Tokenized Asset นี้ ก็ควรที่จะศึกษาและติดตามข่าวสารจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ รวมถึงไม่ลงทุนในปริมาณที่ตัวเองไม่สามารถรับมือได้ เพื่อความมั่นคงทางการเงินของทุกคนและครอบครัวของเรานั่นเอง

และหากสนใจศึกษาและติดตามข่าวการลงทุนในโทเคนดิจิทัลจาก Kubix, ICO Portal ผู้นำในตลาด Asset Tokenization ของประเทศไทย สามารถไปติดตามได้ที่ www.Kubix.co หรือ www.facebook.com/Kubix.DigitalAsset

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า