Mission to the Moon X AP THAILAND
COVID-19 เปลี่ยนโลกที่เราอยู่ไปอย่างสิ้นเชิง เศรษฐกิจ สังคม และไลฟ์สไตล์ของคนต่างพลิกผันและยากที่จะกลับมาเป็นเหมือนเดิม กับองค์กรธุรกิจเอง ถ้าไม่มีทิศทางที่มั่นคงเป็นตัวนำทาง การจะพาองค์กรฝ่ามรสุมไปได้ตลอดรอดฝั่งก็คงไม่ใช่เรื่องง่าย
วันก่อนผมได้มีโอกาสฟัง ‘คุณอนุพงษ์ อัศวโภคิน’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เอพี ไทยแลนด์ พูดถึง ‘ยุทธศาสตร์’ ของ AP THAILAND ยุทธศาสตร์ที่ว่านี้คือเครื่องมือสำคัญที่ทำให้ AP เป็นหนึ่งในไม่กี่บริษัทของไทย ที่พลิกเกมสู่ความสำเร็จได้ในปีที่ผ่านมา และพร้อมเดินทางต่อในปีนี้ จากคำเดียวสั้นๆ แต่กินความหมายลึกซึ้งมากครับ
คำนั้นคือคำว่า “Empower Living”
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2562 คุณอนุพงษ์เล่าว่า AP THAILAND วาง Vision/Mission ขององค์กร ไว้ที่คำว่า “Provide quality of life” หรือการสร้างและจัดหาคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับลูกค้า แต่จากการทำงานจริง ได้ฟังเสียงจากลูกค้าจริงๆ จึงพบว่า คุณภาพชีวิตที่ดีของคนแต่ละคนมีความหมายต่างกัน การได้เรียนรู้ในครั้งนั้นกลายเป็นหลักการสำคัญที่ทำให้ AP THAILAND ปรับโฟกัสใหม่ไปที่คุณภาพชีวิตในมุมมองของลูกค้า ไม่ใช่มุมมองของตนเอง
และคุณภาพชีวิตในมุมมองของลูกค้า ก็คือคำว่า “Empower Living” ซึ่งมีความหมายว่า “สร้างและจัดหาสินค้าและบริการที่เกื้อหนุนให้ลูกค้าและผู้ที่เกี่ยวข้องกับ AP สามารถเลือกที่จะใช้ชีวิตที่ดี ในแบบที่ต้องการด้วยตนเอง” และจากนั้น Empower Living ก็เป็นดั่งเข็มทิศในการนำทางให้พนักงานกว่า 2,000 คนของ AP เดินไปสู่ผลลัพธ์อย่างที่ตั้งใจ เพราะตอนนี้มีโจทย์ที่ท้าทายมาก ก็คือ “วิกฤตการณ์” เพราะ ‘โรคใหม่’ จะเปลี่ยน ‘โลกใหม่’ ไปอย่างสิ้นเชิง และอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์เองจะลงสนามแข่งในรูปแบบเดิมๆ ไม่ได้อีกต่อไป
นั่นจึงเป็นที่มาของ “3 ยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนองค์กร” ที่จะมาสร้างความแข็งแกร่งจากภายใน เพื่อตั้งรับกับกฎกติกาโลกที่เปลี่ยนแปลงไปให้กับ AP THAILAND
ยุทธศาสตร์แรกคือการ “สร้างผู้นำอิสระ เพิ่มโอกาสในการแข่งขันที่มากกว่า” (Create Independent Responsible Leaders)
คุณอนุพงษ์เล่าว่า ตอนนี้เราอยู่ในสภาวะที่ไม่ปกติ ผู้นำในสภาวะนี้จึงต้องเป็นคนที่มีอิสระในการตัดสินใจ พูดง่ายๆ คือยืดหยุ่น อย่าให้ข้อกำหนดของบริษัท หรือข้อจำกัดขององค์กรมาเป็นตัวฉุดรั้ง ให้มุ่งเน้นไปที่ความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ แต่ในขณะเดียวกันก็อาจต้องมีกรอบเรื่องความรับผิดชอบต่อตนเอง ลูกค้า คู่ค้า และเพื่อนร่วมงานอยู่บ้าง และที่ต้องให้คนทำงานมีอำนาจการตัดสินใจที่เป็นอิสระ ก็เพราะเขาอยู่ใกล้ชิดลูกค้าที่สุด จึงควรตอบสนองความต้องการของลูกค้าในยุคนี้ได้รวดเร็ว โดยไม่ต้องรอการตัดสินใจจากคนไม่กี่คนในองค์กร ซึ่งอาจไม่ได้รู้จักลูกค้าดีด้วยซ้ำ
ยุทธศาสตร์ที่สองคือ “การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรม” (INNOVATIVE CULTURE)
โลกยุคใหม่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม และ AP ก็ตระหนักถึงเรื่องนี้ดี และยังมุมมองที่กว้างกว่านั้น เพราะไม่ใช่แค่การใช้นวัตกรรม แต่ยังต้องการสร้างวัฒนธรรมองค์กร ที่เอื้อต่อการสร้างวัฒนธรรมด้วย และมุ่งหวังให้พนักงานทุกคนสามารถสร้างและจัดหาสินค้าหรือบริการที่เกื้อหนุนให้ผู้คนในสังคม คุณอนุพงษ์จึงปลูกฝังให้พนักงานทุกคนมีระบบคิดตามหลัก DESIGN THINKING ที่ให้ความสำคัญกับการค้นหา “Unmet Need” หรือความต้องการที่ซ่อนอยู่ของลูกค้า โดยหวังให้เป็นหลักคิดพื้นฐาน ที่พนักงานจะนำไปผสานเข้ากับจุดแข็งของตนเองในการร่วมมือเพื่อพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น
ยุทธศาสตร์ที่สาม คือการ “พลิกเกมธุรกิจเดินหน้าเต็มลูป ทรานฟอร์มทุกมิติด้วยดิจิทัล” (eVERYTHING DIGITAL)
สิ่งสุดท้ายที่เป็นแนวคิดที่สำคัญมาก คือการนำทุกมิติของการดำเนินงานเข้าสู่ระบบดิจิทัลแบบองค์รวม (Holistic Digital Management) ทั้งที่เกี่ยวเนื่องกับลูกค้า พาร์ทเนอร์ หรือพนักงาน ซึ่งจะใช้เป็นรากฐานสนับสนุน 2 ยุทธศาสตร์แรก เพราะการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว เพื่อตอบสนองลูกค้านอกจากนี้ การสร้างนวัตกรรมก็จำเป็นต้องมีข้อมูลที่รวดเร็วและถูกต้อง เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ค้นหา Unmet Need ของลูกค้าได้อย่างแม่นยำ พร้อมส่งมอบ ‘ประสบการณ์การใช้ชีวิต’ ผ่านสินค้าและบริการที่มีความสะดวกและรวดเร็วให้กับลูกค้านั่นเอง
สิ่งที่น่าสนใจต่อมาก็คือ 3 ยุทธศาสตร์ข้างต้นจะส่งผลต่อก้าวต่อในปี 2564 ของ AP THAILAND อย่างไร?
จริงๆ แล้ว AP THAILAND ได้ใช้ยุทธศาสตร์เหล่านี้มานานแล้ว เห็นได้จากการที่ AP สามารถก้่าวผ่านวิกฤตในปีที่ผ่านมาได้แบบเกินความคาดหมาย และผมเชื่อว่าในปีนี้ ก็คงเป็นอีกปีที่ AP THAILAND จะโชว์ความแข็งแกร่งและใช้วิสัยทัศน์อันเฉียบแหลมในการต่อสู้กับปีอันหนักหน่วงนี้ได้อย่างสง่างามเช่นกัน
ดูได้จากยอดโครงการใหม่ที่จะเปิดตัวในปีนี้ ซึ่งมีถึง 34 โครงการ มูลค่าประมาณ 43,000 ล้านบาท ทั้งโครงการแนวราบและคอนโดมิเนียม รวมถึงจำนวนโครงการที่อยู่ระหว่างการขาย ที่กระจายไปในทุกทำเลทั้งในกทม.และต่างจังหวัดถึง 113 โครงการ ผมก็คิดว่า การที่ AP ตั้งเป้ารับรู้รายได้ (รวม 100% JV) 43,100 ล้านบาท และเป้ายอดขายที่ 35,500 ล้านบาทคงไม่ไกลเกินฝัน
จากการได้ฟังคุณอนุพงษ์แสดงวิสัยทัศน์ในครั้งนี้ ทำให้ผมรู้อย่างหนึ่งว่า แม้เราจะไม่รู้ว่าจุดสิ้นสุดของวิกฤตครั้งนี้จะเป็นเมื่อไหร่ และจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรที่จะเกิดขึ้นอีก แต่ AP THAILAND ก็คงจะ ’ไม่หยุด’ ทำหน้าที่ในการเป็นผู้สร้างและจัดหานวัตกรรมสินค้าหรือบริการที่มีคุณค่า เพื่อให้ผู้คนในสังคม สามารถเลือกที่จะใช้ชีวิตในแบบที่ต้องการ เหมือนกับคำว่า “EMPOWER LIVING” ที่ AP THAILAND ได้วางไว้อย่างแน่นอน