PSYCHOLOGYเห็นแก่ตัวบ้างก็ไม่เป็นไร! รวม 5 ช่วงเวลาที่เราต้องใส่ใจตัวเอง

เห็นแก่ตัวบ้างก็ไม่เป็นไร! รวม 5 ช่วงเวลาที่เราต้องใส่ใจตัวเอง

“ปฏิเสธคนอื่นไม่เป็น”
“ช่วยเหลือคนอื่นจนตัวเองเหนื่อยเอง”

เรากำลังเป็นแบบนี้อยู่หรือเปล่า? ถ้าใช่ นั่นก็หมายความว่าเราอาจกำลังให้ความสำคัญกับคนอื่นจนลืมแคร์ความรู้สึกของตัวเองไป และถึงเวลาแล้วที่เราต้องรู้จัก “เห็นแก่ตัว” บ้าง

เมื่อพูดถึงคำว่า “เห็นแก่ตัว” บางคนอาจจะคิดไปในทางลบว่าสิ่งนี้คือการเอาแต่ใจตัวเองและเอาตัวเองเป็นที่ตั้งจนไม่เห็นใครอยู่ในสายตา แต่ในความเป็นจริงแล้วคำว่าเห็นแก่ตัวนั้นก็มีหลายระดับเหมือนกับสิ่งอื่นๆ

Melissa Deuter ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านจิตเวชศาสตร์คลินิก กล่าวว่า ความเห็นแก่ตัวเป็นคำที่ดูน่าเกลียด แต่จริงๆ แล้วมันมีความหมายที่แตกต่างกันอยู่สองอย่าง อย่างแรกคือการเป็นคนใจร้ายและไม่เกรงใจผู้อื่น แต่อีกอย่างหนึ่งคือการที่เราต้องรับผิดชอบต่อการตอบสนองความต้องการของเรา ซึ่งนี่ถือเป็นส่วนสำคัญของการเป็น “ผู้ใหญ่”

นั่นหมายความว่าถ้าเราใช้ความเห็นแก่ตัวในสถานการณ์หรือช่วงเวลาที่ถูกต้อง เราก็จะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างราบรื่นและมีความสุขมากยิ่งขึ้น

บางครั้งเราก็ต้อง “เห็นแก่ตัว” กันบ้าง

Bob Rosen ผู้เขียน Grounded: How Leaders Stay Rooted in an Uncertain World กล่าวว่า ถ้าเราใช้ “ความเห็นแก่ตัว” ได้อย่างถูกทาง ตัวเราเองก็จะได้ประโยชน์ 4 อย่างเหล่านี้

1. สุขภาพดีขึ้น

คนที่ให้ความสำคัญกับตัวเองจะดูแลตัวเองมากกว่าจะยอมเสียเวลาไปกับการตอบสนองความต้องการของคนอื่นๆ เช่น บางคนเลือกที่จะทุ่มเทเวลาไปกับการออกกำลังกาย และการทานอาหารดีๆ มากกว่าจะทุ่มเทเวลาทั้งหมดไปกับการทำงาน ดังนั้นในระยะยาวแล้วคนเหล่านี้จึงมีแนวโน้มที่จะมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง

Advertisements
2. จะมีความได้เปรียบกว่าคนอื่นหากอยู่ในฐานะผู้นำ

มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ชี้ให้เห็นว่า การที่เราทำอะไรบางอย่างเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง สุดท้ายแล้วอาจทำให้เรามีความได้เปรียบกว่าคนอื่นหากเราอยู่ในฐานะผู้นำ เพราะคนที่ให้ความสำคัญกับตัวเองนั้นมักจะมีความมั่นใจมากกว่า ไม่ค่อยล้มเลิกการทำตามเป้าหมายที่วางไว้ กล้าทำตามสิ่งที่ตัวเองต้องการ รวมถึงกล้าที่จะขอขึ้นเงินเดือนหรือขอเลื่อนตำแหน่งอีกด้วย พูดง่ายๆ คือ คนที่มีความเห็นแก่ตัวในตัวเองจะมีแรงผลักดันในการก้าวเดินสู่ความสำเร็จ

ถึงแม้ว่าสิ่งสำคัญของผู้นำคือการดูแลผู้อื่น แต่ถ้าเราดูแลตัวเองไม่ได้ เราก็จะดูแลคนอื่นไม่ได้ เพราะฉะนั้นในบางครั้ง “ความเห็นแก่ตัว” จึงเป็นสิ่งสำคัญ

3. มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อใจตัวเองมากขึ้น

หลายคนอาจจะสงสัยว่า “ความเห็นแก่ตัว” จะทำให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อใจมากขึ้นได้อย่างไร ก็ต้องบอกว่าการที่เราให้ความสำคัญกับตัวเองจะทำให้คนอื่นเอาเปรียบเราได้ยากขึ้น เพราะเราจะกำหนดขอบเขตความสัมพันธ์ชัดเจน เช่น กำหนดว่าควรช่วยคนอื่นแค่ไหน จุดไหนคือจุดที่พอดีและจุดที่มากเกินไปสำหรับเรา เพราะถ้าเราไม่มีจุดโฟกัสที่ชัดเจน เราก็อาจจะไม่กล้าปฏิเสธคนอื่น จนทำให้ตัวเองเหนื่อยเอง

ดังนั้นแล้วหากอยากมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อใจตัวเองมากขึ้น ในบางครั้งเราจึงต้องมีความเห็นแก่ตัวบ้าง

4. มีความสุขกับชีวิตมากขึ้น

อย่างที่บอกไปว่าคนที่ให้ความสำคัญกับตัวเองมักจะหาเวลาให้ตัวเองเสมอ เขาเหล่านั้นจึงมีเวลาไปทำกิจกรรมที่ชอบ สุดท้ายแล้วสิ่งเหล่านั้นมันก็จะส่งเสริมให้เรามีความสุขกับการใช้ชีวิตมากยิ่งขึ้น

ขอย้ำอีกรอบว่าการให้ความสำคัญกับตัวเองก่อนไม่ใช่เรื่องแย่เสมอไป เพราะมันเป็นหน้าที่ของเราอยู่แล้วที่จะต้องดูแลตัวเอง แต่เราก็ต้องรู้จัก “ความพอดี”

ถ้าเราเห็นแก่ตัวมากเกินไป ก็อาจส่งผลกระทบกับคนรอบข้าง เพราะคนที่เห็นแก่ตัวมากๆ มีแนวโน้มที่จะเอาเปรียบผู้อื่น เพื่อให้คนอื่นทำตามสิ่งที่ตัวเองต้องการตลอดเวลา พอไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการก็จะเกิดอาการไม่พอใจ

เรียกได้ว่า “ความเห็นแก่ตัว” เป็นเหมือนดาบสองคม ถ้าเราใช้ในทางที่ถูกต้องมันก็จะให้ประโยชน์แก่ตัวเรา แต่ถ้าใช้ในทางที่ผิดผลลัพธ์ก็จะออกมาตรงกันข้าม

ถึงเวลาต้องหันมาแคร์ใจตัวเองบ้าง

ถ้าการเป็น “คนเห็นแก่ตัว” ไม่ใช่เรื่องแย่เสมอไป แล้วมีช่วงเวลาไหนบ้างที่เราควรหันมาใส่ใจความรู้สึกตัวเองเป็นอันดับแรก?

Advertisements
1. เมื่อต้องการความช่วยเหลือ

บางคนเมื่อคนอื่นมาขอความช่วยเหลือก็มักจะตอบตกลงทุกครั้ง แต่พอถึงเวลาที่ตัวเองต้องการความช่วยเหลือบ้างกลับไม่กล้าปริปากขอความช่วยเหลือจากคนอื่น เพราะกลัวว่าจะไปรบกวนคนอื่น หรืออาจจะกลัวว่าถ้าขอความช่วยเหลือไปแล้ว คนอื่นจะมองว่าตัวเองนั้นอ่อนแอและไม่มีความสามารถ สุดท้ายแล้วจึงมานั่งเครียดว่าจะทำอย่างไรต่อไปดี

แต่จริงๆ แล้วการขอความช่วยเหลือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเมื่อคนอื่นยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ เราก็จะหาทางออกของปัญหานั้นๆ ได้ แล้วความเครียดของเราก็จะลดลง ฉะนั้นเมื่อไหร่ก็ตามที่เรารู้สึกว่างานที่ทำอยู่นั้นมันเริ่มทำให้หนักใจจนเกินจะรับไหว ให้ลองขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงานหรือคนที่มอบหมายงานดูก็ได้

2. เมื่อต้องการพักผ่อน

อีกช่วงเวลาหนึ่งที่เราควรให้ความสำคัญกับตัวเองคือ ช่วงเวลาที่เรารู้สึกเหนื่อย ไม่ว่าจะเป็นเหนื่อยกายหรือเหนื่อยใจ

เมื่อช่วงเวลาแบบนี้มาถึงเราก็ต้องล้มตัวลงนอนบ้าง เพราะการนอนไม่เพียงพอนั้นมีผลเสียตามมาหลายอย่าง ทั้งปัญหาการโฟกัสแย่ลง ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง และความจำแย่ลง แต่ในบางครั้งหลายคนก็อาจจะมองข้ามความสำคัญของการนอนหลับไป และทำงานดึกจนอดหลับอดนอน

หรือบางคนต้องการพักผ่อนมากๆ แต่พอเพื่อนชวนออกไปเที่ยวก็เริ่มลังเล ไม่รู้จะปฏิเสธอย่างไร สุดท้ายก็ต้องไปเที่ยวแบบเหนื่อยๆ เพราะปฏิเสธคนไม่เป็น แต่จริงๆ แล้วช่วงเวลาแบบนี้เราควรให้ความสำคัญกับตัวเองก่อน เช่น เลือกกลับบ้านไปนอนแทนที่จะไปเที่ยวกับเพื่อน

แล้วการพักผ่อนก็ไม่ได้หมายถึงการนอนหลับเสมอไป เราอาจจะหาเวลามาอ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง หรือทำกิจกรรมที่ชื่นชอบเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ก็ได้เช่นกัน

3. เมื่อต้องการอยู่คนเดียว

เคยไหม? เวลามีเพื่อนมาชวนออกไปข้างนอก แล้วเราอยากจะตอบว่า “ไม่อยากไป เพราะอยากอยู่บ้านมากกว่า” แต่ก็ไม่กล้าพอที่จะพูดออกไป เพราะกลัวเพื่อนไม่เข้าใจว่าทำไมเราถึงเลือกที่จะอยู่คนเดียวมากกว่าออกไปใช้เวลากับกลุ่มเพื่อน

ถ้าใครที่กำลังรู้สึกแบบนี้อยู่ ก็ต้องบอกว่าเราทุกคนต่างก็มีช่วงเวลาที่ต้องการความเป็นส่วนตัวกันทั้งนั้น แล้วบางคนอาจจะชอบการอยู่คนเดียวมากเป็นพิเศษด้วย เช่น คนที่เป็น Introvert หรือคนชอบเก็บตัว เพราะการเข้าสังคมนั้นต้องใช้พลังเยอะ

ดังนั้น ไม่ต้องรู้สึกผิดหากเราเลือกที่จะใช้เวลากับตัวเองมากกว่าที่จะสละเวลาส่วนตัวอันมีค่าให้กับคนอื่น

4. เมื่อถึงเวลาต้องพาตัวเองออกมาจากความสัมพันธ์ งาน และอื่นๆ

ช่วงเวลาที่ยากลำบากของใครหลายๆ คนคงจะหนีไม่พ้นช่วงเวลาที่ต้องเลิกกับแฟน หรือลาออกจากงาน เพราะการที่จะตัดสินใจทำสิ่งเหล่านี้ได้จะต้องมีความกล้ามากๆ หลายครั้งเรามักจะไม่กล้าก้าวออกมาจากความสัมพันธ์เพราะกลัวจะไปทำร้ายใครบางคนเข้า

แต่ถ้าการอยู่ในพื้นที่นั้นมันทำให้เรารู้สึกแย่ เราก็ต้องกล้าที่จะบอกลา ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ งาน หรืออะไรก็ตามแต่ เพราะมันคือช่วงเวลาที่เราต้องให้ความสำคัญกับตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก

5. เมื่อเรา “ให้” มากกว่า “รับ”

เคยได้ยินกันใช่ไหมว่า “ความสัมพันธ์ที่ดีคือ เมื่อเป็นผู้รับแล้ว ก็ต้องเป็นผู้ให้ที่ดีด้วย” แต่สิ่งนี้ก็มีความผันผวนและแตกต่างกันไปในแต่ละความสัมพันธ์ อยากให้ลองสังเกตดูว่าตอนนี้เรากำลังอยู่ในความสัมพันธ์ที่มีความสมดุลระหว่างการให้และการรับอยู่หรือเปล่า

ถ้าเราเป็นฝ่ายให้มากกว่าก็ถึงเวลาที่เราต้องทำอะไรสักอย่างแล้ว เช่น เปิดอกพูดคุยกัน หรือตัดคนเหล่านั้นออกไปจากชีวิต เพราะถ้าเราไม่ทำอะไรและปล่อยไปเฉยๆ ความสัมพันธ์แบบนี้ก็จะทำให้เกิดความเหนื่อยล้าทั้งกายและใจในอนาคตได้

สำหรับคนที่ “ให้” คนอื่นตลอดเวลา จนตัวเองรู้สึกเหนื่อยล้าและเครียดเอง ในบางครั้งเราก็ต้อง “เห็นแก่ตัว” และให้ความสำคัญกับตัวเองบ้าง เพื่อดูแลสุขภาวะทางร่างกาย อารมณ์ และจิตใจของตัวเอง

ถ้าชีวิตมันเหนื่อยมากนัก ก็อย่าลืมหันมาใส่ใจความรู้สึกตัวเองบ้างนะ


แปลและเรียบเรียง
– 4 Reasons Why Being Selfish Is Good for You : Stephanie Vozza, Fast Company – https://bit.ly/3XzP4dl
– You can be selfish — but experts say too much of it can make you toxic : Arti Patel, Global News – http://bit.ly/3XuwSS9
– Sometimes Self-Care Is Selfish — and That’s OK : Jamie Elmer, Healthline – http://bit.ly/3EyFi4D


#selfdevelopment
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า