3 แนวทาง สร้าง Engagement ของทีมงาน

5667
รูปภาพจาก Number 24 x Shutterstock.com
มีเวลาไม่เยอะอยากอ่านสั้นๆ
  • สามแนวทางเพิ่ม Engagement ของทีม
  • 1. Purpose: หาความหมายของการมีอยู่ หรือ เจตนารมณ์ ขององค์กรหรือทีม แล้วสื่อสารเรื่องนี้ออกไป
  • 2. Opportunity to learn: เปิดโอกาสให้พนักงานได้เรียนรู้และฝึกฝนเรื่องที่แต่ละคนสนใจ และองค์กรต้องเข้าใจว่าความล้มเหลวไม่ใช่เรื่องเลวร้าย แต่เป็นอีกโอกาสที่จะได้ “เรียนรู้”
  • 3. Automony: มอบความเชื่อใจให้กับทีมงาน ให้เขาได้คิด ได้ลอง ได้ทำงานในแบบของเขา (แต่ไม่ใช่การปล่อยปะละเลย)

คำถามที่ทุกทีมต้องการจะตอบให้ได้คือ ทำอย่างไรถึงจะสร้าง Engagement ในทีมให้เพิ่มขึ้นได้ เพราะทีมงานที่มี Engagement สูง ผลงานก็จะดีตามไปด้วย คำว่า Engagment ถ้าจะแปลให้เข้าใจง่ายขึ้น อาจจะพอแปลได้ว่าคนที่ทำงานนั้น “อิน” และ “มีความสุข” กับงานที่ทำ

แนวทางการทำให้เกิด Engagement หลักๆ จะมีอยู่สามเรื่องด้วยกันคือ

เจตนารมณ์ของการดำรงอยู่

Purpose : อันนี้กลับมาที่คำถามที่พื้นฐานที่สุดของมนุษย์เลยคือว่า “ความหมายของการดำรงอยู่” ของเราคืออะไร  คนที่ตอบคำถามนี้ได้จะเป็นคนที่ชีวิตมีเป้าหมาย

Advertisements

และแน่นอนว่าในเมื่องานเป็นส่วนใหญ่มากๆ ของชีวิต คนเราจึงอยากอยู่ในองค์กรที่มี ความหมายของการดำรงอยู่ขององค์กรเช่นกัน อีกนัยนึงคือเราต้องตอบให้ได้ว่า มีเราอยู่ไปทำไม

องค์กรไหนยังไม่แน่ใจว่าความหมายของการดำรงอยู่ของตัวเองคืออะไร อันนี้ควรรีบหา

เมื่อหาเจอแล้วต้องสื่อสารออกไปอย่างสม่ำเสมอ คำว่าสื่อสารไม่ได้หมายถึงทำป้ายใหญ่ๆ หรือให้ HR ทำคู่มือแจก

ความหมายของการดำรงอยู่ต้องอยู่ที่ทุกสิ่งที่องค์กรทำ ตั้งแต่การตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง ไปจนถึงคำพูดที่พนักงานหน้าร้านพูดกับลูกค้า

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ยากที่สุด แต่ถ้าทำได้ทุกคนในองค์กรจะเข้าใจหน้าที่ของตัวเอง มีความรับผิดชอบกับงานสูงมาก และอัตราการลาออกก็จะต่ำด้วย


โอกาสที่จะได้เรียนรู้

Opportunity to learn : คนที่มี Engagement สูงคือคนที่รู้สึกว่าตัวเองได้พัฒนาศักยภาพของตัวเองอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่สามารถพัฒนาศักยภาพได้มากที่สุดคือโอกาสได้ที่จะได้ “เรียนรู้”

แต่การเรียนรู้ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการที่บริษัทส่งพนักงานไปเรียนแต่เพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงโอกาสที่สามารถเรียนรู้ในงานไปด้วยได้

บริษัทที่เปิดโอกาสให้พนักงานได้เรียนรู้และฝึกฝนเรื่องที่แต่ละคนสนใจจนชำนาญได้นั้น คือบริษัทที่เข้าใจถึง “ความล้มเหลว”

หนึ่งในกระบวนการสำคัญของการเรียนรู้ คือความเข้าใจที่ว่าการพยายามจะเข้าใจในเรื่องที่เรายัง “ไม่รู้” นั้น ความล้มเหลวเป็นสิ่งทีแทบจะหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย

Advertisements

ซึ่งความล้มเหลวจากการเรียนนั้น แตกต่างจากความล้มเหลวจากการทำงานไม่ดี อย่างสิ้นเชิง ความล้มเหลวจากการทำงานไม่ดีที่มาจากความประมาท เลิ่นเล้อ หรือ ความไม่ใส่ใจ เป็นคนละเรื่องกับความล้มเหลวจากการพยายามหาคำตอบจากสิ่งที่เราไม่รู้

การแยกความล้มเหลวให้ชัดเจนว่ามาจากอะไรและสื่อสารออกไปจะช่วยเพิ่ม Engagement ได้เช่นกัน


มอบความเชื่อใจให้กับทีม

Automony : คำว่า Autonomy นี่เราไม่ได้หมายถึงการทำอะไรก็ได้ การที่หัวหน้างานบอกว่าทำอะไรก็ได้ โดยไม่สนใจเรื่องอื่นเลย อันนั้นไม่ได้แปลว่าให้ Automony กับทีมงาน แต่เหมือนจะปล่อยปละละเลยมากกว่า

คำว่า Autonomy ถ้าจะให้เปรียบเทียบง่ายที่สุดคือเหมือนความสัมพันธ์และบริหารจัดการทีมที่ดีของผู้จัดการทีมและผู้เล่นของทีมฟุตบอล

ผู้จัดการทีมจะพยายามหาทุกอย่างมาสนับสนุนให้ลูกทีมพร้อมมากที่สุดทั้งร่างกายและจิตใจ บอกแผนการ บอกจุดประสงค์ บอกหน้าที่ของแต่ละคน

แต่ผู้จัดการทีมจะไม่บอกว่านาทีที่ 1 คนนี้ต้องแตะให้คนนี้นะ และส่งต่อให้คนนี้ ฯลฯ อันนั้นเป็นเรื่องของนักเตะที่ต้องไปลุยกันเองหน้างาน

ดังนั้น Automony คือ

  • การที่คนในทีมสามารถเลือกได้ว่าจะทำงานกับใครตอนนั้น (who) เช่น จังหวะนี้จะส่งบอลให้ใครดี
  • การที่คนในทีมสามารถเลือกได้ว่า ตอนนั้นควรทำงานอะไร (what) เช่น จังหวะนี้จะยิงหรือจะผ่านลูกให้เพื่อนยิงแทน
  • การที่คนในทีมสามารถเลือกได้ว่า ควรทำงานเมื่อไร (when) เช่น ควรบุกให้หนักขึ้น หรือเล่นแบบเซฟขึ้นดี
  • การที่คนในทีมสามารถเลือกเทคนิคหรือวิธีการทำงานได้ (how) เช่น จะเล่นลูกสั้นหรือลูกยาวดี

ดังนั้น จะเห็นว่าการให้ Automony นั้นไม่ได้เป็นการปล่อยปละละเลย แต่เป็นการมอบความเชื่อใจให้กับทีม ให้ทีมสามารถทำงานได้เต็มที่และได้รับการสนับสนุนเต็มที่เช่นกัน


เรื่อง Engagement นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก และได้รับการพูดถึงมากในการบริหารองค์กรยุคปัจจุบัน

เพราะการที่ทีมงานมี Engagement ที่ดี จะทำให้ทีมงานมีความสุข ทีมงานที่มีความสุขจะเป็นทีมงานที่ทำงานได้ดีด้วยเช่นกัน

Advertisements

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่