เนิ่นนานเท่าไหร่ไม่รู้ที่รอ (เงินเดือน) ฉันจำไม่ได้~~ สงสัยไหม? ทำไมเดือนมกราคมถึงรู้สึกนานนนนนนนนนกว่าปกติ

403
คุณเคยสงสัยไหมว่า ทำไมเดือนมกราคมถึงผ่านไปช้ากว่าเดือนอื่นๆ? ทั้งที่ในหนึ่งปีก็มี 31 วันอยู่หลายเดือน แต่ทำไมเดือนนี้ถึงรู้สึกนานเป็นพิเศษ ยิ่งสำหรับคนที่กำลังตั้งตารอเงินเดือนออก หลังจากที่ปาร์ตี้อย่างสุดเหวี่ยงหรือใช้จ่ายไปในช่วงวันหยุดยาวที่ผ่านมา ราวกับว่าพอเงินใกล้หมด ทุกอย่างดูช้าลงราวกับเวทย์มนตร์
 
จริงๆ แล้วเดือนมกราคมก็มี 31 วัน เท่ากับเดือนอื่นในปฏิทินนั่นแหละ แต่มันมีคำอธิบายโดยนักจิตวิทยาชื่อ William Skylark ที่บอกว่า การรับรู้ช่วงเวลาทางกายภาพกับช่วงเวลาในความรู้สึกของมนุษย์นั้นต่างกัน เราเรียกสิ่งนี้ว่า ‘Dopamine clock’ หรือช่วงเวลาการหลั่งสารโดปามีนในร่างกายของมนุษย์ ทำให้นาฬิกาในความรู้สึกเราเร็ว-ช้าไม่เท่ากับเวลาจริงๆ
 
โดปามีนคือสารสื่อประสาทที่จะหลั่งออกมาเวลาที่เกิดความรู้สึกด้านบวกต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจของเรา เช่น มีความสุข ตื่นเต้น สารตัวนี้จะทำให้นาฬิกาในสมองเราเดินเร็วขึ้น อย่างคำกล่าวที่ว่า เวลาแห่งความสุขมักผ่านไปเร็ว ก็มีผลมาจากสารตัวนี้ แต่ถ้าเรารู้สึกเบื่อหน่าย เศร้า หงุดหงิดหรือโมโห โดปามีนก็จะหยุดทำงาน ทำให้เรารู้สึกว่าช่วงเวลานั้นดูผ่านไปช้าเหลือเกิน
 
ส่วนคำถามที่ว่า ทำไมจึงรู้สึกว่าเดือนมกราคมนานกว่าปกติ ก็เพราะอาการที่เรียกว่า “Post-Vacation Blues” เป็นอาการที่เราจะรู้สึกเมื่อวันหยุดเราหมดลง และต้องกลับมาทำงานเหมือนเดิม ทำให้เรารู้สึกไม่สบายใจ หรือเหงาหงอยที่วันหยุดผ่านไปอย่างรวดเร็ว ทำให้สารโดปามีนไม่หลั่งออกมา แถมเดือนนี้ยังไม่มีวันหยุดพิเศษ นาฬิกาในสมองเราจึงทำให้เรารู้สึกว่าเดือนนี้มันช่างเนิ่นนนนนนานนนนนกว่าาาาาาาปกกกติ
 
“เวลาวางมือบนเตาร้อนๆ เพียงหนึ่งนาที คุณจะรู้สึกนานเหมือนหนึ่งชั่วโมง แต่เวลานั่งคุยกับสาวสวยหนึ่งชั่วโมง คุณจะรู้สึกว่ามันรวดเร็วราวกับหนึ่งนาที” – อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
 
คำกล่าวของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ดูจะเป็นคำอธิบายหลักการทำงานของสารโดปามีนได้ดีและเห็นภาพชัดที่สุด
 
เรียบเรียงจาก:
 
อ้างอิง
Advertisements