ฝึกชีวิตให้หามุมมองที่แตกต่าง เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนด้วย Cognitive Flexibility 

879

แม้ว่าเราจะมีข่าวดีเรื่องวัคซีนมาบ้าง แต่ว่าความไม่แน่นอนของ Covid-19 และผลกระทบรวมถึงแผลเป็นทางเศรษฐกิจที่ยังไม่รู้ว่ายาวนานแค่ไหน จะทำให้ปี 2021เป็นอีกปีที่การตัดสินใจในแต่ละเรื่องยากมากๆ 

สำหรับเจ้าของกิจการและผู้บริหารระดับสูง ปีหน้าจะเป็นปีที่มีคำถามมากมาย เช่น จะเพิ่มการลงทุนหรือลดการลงทุนดี เพราะท่ามกลางความเสี่ยงก็มีโอกาสอยู่เหมือนกัน แต่การมองภาพให้ออกนั้นยากกว่าปีอื่น

สำหรับบางคนอาจหมายถึงการต้องคิดเลยว่า จะทำธุรกิจเดิมหรือเปลี่ยนไปทำอย่างอื่นดี 

Advertisements

ส่วนคนทำงานทั่วๆ ไป คงมีคำถามมากมายเกี่ยวกับความปลอดภัยของตำแหน่งงานที่ทำอยู่  หรือถ้าต้องการ up-skill, re-skill จะเรียนเรื่องอะไรดี แล้วเราจะชอบไหม

ในความไม่แน่นอนแบบนี้ทำให้ผมนึกถึงคำว่า “Cognitive Flexibility

‘Kathleen Smith’ นักจิตบำบัดและผู้เขียนหนังสือเรื่อง “Everything Isn’t Terrible” บอกว่า ความสามารถที่จะใช้ชีวิตอยู่กับความไม่แน่นอนโดยไม่สติแตกไปก่อน เป็นสิ่งที่มีค่ามาก ในช่วงเวลาแบบนี้ ซึ่งทักษะที่ว่านี้เราสามารถฝึกได้ผ่านสองขั้นตอน คือ

ขั้นแรก: การรับรู้ถึงอาการของความวิตกกังวล 

เธอบอกว่า มันเป็นเรื่องธรรมดามาก ที่เวลาเราวิตกกังวลและเครียด สมองของเราจะพยายามแก้ปัญหาให้เร็วที่สุด เหมือนกับการหาทุกวิถีทางในการดับไฟที่อยู่ใกล้ๆ เรา 

ก่อนเราจะพบว่า มันมีกองไฟอีกกองให้ดับ แล้วพอดับ ก็มีกองไฟให้ดับแบบไม่หยุดหย่อน 

แน่นอนว่า ความรู้สึกนี้สร้างความเหนื่อยล้าแบบแสนสาหัสให้กับเรา จึงไม่แปลกที่ช่วงเวลานี้คนจำนวนมากจะรู้สึกไร้เรี่ยวแรง หดหู่ ไม่มีความสุข จนหลายคนรู้สึกไร้ค่าไปเลยก็มี

สิ่งที่เราต้องยอมรับคือ ในเวลาที่ไม่แน่นอนแบบนี้ เราไม่มีทางแก้ปัญหาทุกอย่างได้ เราไม่มีทางไล่ดับไฟทุกกองได้ ถ้าเราเข้าใจเรื่องนี้ เราจะสามารถอยู่กับความวิตกกังวลได้ 

การยอมรับในความวิตกกังวล การอยู่กับความไม่สบายใจที่ชั่วคราวนี้ได้ จะทำให้เราสามารถมีจิตใจที่สงบได้ในระยะยาว 

ขั้นที่สอง: การฝึกทักษะ Cognitive Flexibility 

ทักษะดังกล่าวเป็นสิ่งที่สำคัญมากในยามที่ความไม่แน่นอนถาโถมจากรอบด้านแบบนี้ 

Cognitive Flexibility มีองค์ประกอบสำคัญสองอย่าง ได้แก่ 

ความสามารถในการเปลี่ยนมุมมองหรือวิธีคิดต่อปัญหา
– ความสามารถในการทิ้งวิธีการแก้ปัญหาที่ใช้งานไม่ได

Advertisements

สิ่งที่ตรงข้ามกับ Cognitive Flexibility คือ Rigid Thinking ซึ่งไม่เหมาะสมอย่างมากกับการแก้ปัญหาที่มีความไม่แน่นอนสูง

Rigid Thinking คือการคิดในรูปแบบตายตัว และเมื่อเรายิ่งวิตกกังวลเท่าไร เรายิ่งมีแนวโน้มที่จะใช้งาน Rigid Thinking มากขึ้นเท่านั้นโดยที่เราไม่รู้ตัว 

นี่คือเหตุผลที่ทำให้เราเห็นคนจำนวนมากพยายามแก้ปัญหาใหม่ๆ ด้วยวิธีคิดแบบเดิมๆ ในเวลาที่พวกเขามีความวิตกกังวลสูง 

แท้จริงแล้วเราทุกคนสามารถฝึกให้มี Cognitive Flexibility มากขึ้นได้ โดยการถามคำถามสองข้อกับตัวเอง

– ตอนนี้เรากำลังทำอะไรอยู่ 

– ผลของมันเป็นอย่างไรบ้าง

ถ้าดูแล้วผลลัพธ์ยังไม่ดี เราได้คิดถึงการเปลี่ยนวิธีการแก้ปัญหาแล้วหรือยัง? 

ฟังดูตรงไปตรงมามาก แต่เชื่อไหมครับว่า เวลาเราอยู่ท่ามกลางปัญหาที่รุมเร้าเข้ามาทุกทาง สิ่งที่เราลืมทำไปเลยคือ “เปลี่ยนวิธีการ” 

ในยามวิกฤตแบบนี้ การถอยออกมาเพื่อตกผลึกถึง “กระบวนการ” ที่เราใช้ในการแก้ปัญหา จึงเป็นเรื่องที่ควรทำอย่างยิ่ง แต่หลายครั้งเราเลือกจะใช้วิธีการเดิมๆ แต่หวังให้เกิดผลใหม่ๆ ซึ่งมันคงเป็นไปได้ยาก 

ขอปิดท้ายด้วยคำพูดที่ไม่แน่ใจว่าไอน์สไตน์ได้พูดไว้ไหม บ้างก็ว่าพูด บ้างก็ว่าไม่ได้พูด แต่ผมว่าใครพูดไม่สำคัญ แต่สำคัญที่เนื้อหาที่น่าคิดตามมากๆ ครับ  

“Insanity is doing the same thing over and over again and expecting different results.”

“คำว่าวิกลจริตหรือบ้า หมายถึงการทำสิ่งเดิมๆ ซ้ำๆ โดยคาดหวังให้ผลลัพธ์ออกมาแตกต่างกัน”

ท่ามกลางคำถามที่มากมายว่า เราจะทำอะไรดีในความไม่แน่นอนนี้ ลองถามคำถามที่สำคัญมากๆ กับตัวเองนะครับว่า เรามี Cognitive Flexibility เพียงพอแล้วหรือยัง?

#MissionToTheMoonPodcast

Advertisements