ทำไมฟังเพลง LO-FI ตอนทำงานแล้วโฟกัสได้ดี?

1598

‘Lo-Fi’ หรือ “Low Fidelity” แนวดนตรีที่พร้อมโอบรับ “ความไม่สมบูรณ์แบบ” เสียงแทรก เสียงแตก และเสียงรบกวนจากบริบทแวดล้อม


แม้ปัจจุบัน เทคโนโลยีการสร้างสรรค์ในโลกดนตรียุคใหม่จะรุดหน้าก้าวไกลไปอย่างน่าประทับใจ และเสียงดนตรีสามารถกลั่นกรองออกมาอย่างมีคุณภาพในทุก ‘เดซิเบล’ แต่ในอีกมุมหนึ่ง เหล่านักฟังดนตรีกลับรู้สึกหลงใหลในซาวด์ที่ไม่สมบูรณ์แบบ


การฟังเพลงที่มีคุณภาพเสียงไม่ดีนัก เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่เหล่านักทำซาวด์อยากใส่ลงไปในบทเพลง เสมือนการได้ย้อนเวลากลับไปเปิดเพลงฟังจากเทปหรือแผ่นเสียงเก่าๆ ที่เหมาะกับบรรยากาศอันแสนสบายหูสบายตา และสบายใจเสียเหลือเกิน


ด้วยการเรียบเรียงบทเพลงที่ไร้ซึ่งเนื้อร้อง ผนวกกับจังหวะเบาๆ ฟังสบาย ที่เราสามารถเปิดคลอเป็นแบล็คกราวระหว่างทำงานแบบไม่รู้สึกขัดกับ “สมาธิจดจ่อ” ที่มีอยู่ ซึ่งเราอาจรู้จักหรือคุ้นชินกันในชื่อ ‘ChillHop Music’

Advertisements


ทำไมดนตรีแนว ‘Lo-Fi’ กลายเป็นเพื่อนที่ดีในยามที่คุณกำลังมีสมาธิโฟกัสกับการทำงาน?


เพราะเป็นซาวด์ที่คุ้นเคย


เพลง ‘Lo-Fi’ สามารถดัดแปลงเข้ากับทุกแนวดนตรี ทำให้เราสามารถนำจังหวะของเพลงที่หลากหลาย และติดหูมาผสมผสานกัน ใส่ซาวด์ที่เป็นบริบทแวดล้อมทำให้รู้สึกถึงความผูกพันธ์และกลมกลืนอยู่ในบรรยากาศ ไม่โดดเด่นแย่งอรรถรสในสิ่งที่จดจ่ออยู่จนเกินพอดี


การสร้างสรรค์มีเทคนิคหลากหลาย เราสามารถหยิบนำซาวด์ของเสียงทีวีเก่า เสียงหยิบจับสิ่งของ หรือเสียงคลื่นวิทยุแทรกมาผสมลงในซาวด์เพลง

Advertisements


และเมื่อผู้ฟังที่ได้ยิน มันเปรียบเสมือนการได้อยู่กับสิ่งที่คุ้นชินและมีความทรงจำที่อัดแน่นอยู่ในเสียงเพลง ส่งผลให้ผู้ฟังรู้สึก ‘สนิทใจ’ ที่ได้เปิดฟังเพลง ‘Lo-Fi’ โดยไม่รู้ตัวอยู่เสมอ


เพราะความคุ้นชินให้ความรู้สึกสบายใจ และส่งผลให้รู้สึก ‘คิดถึง’หรือ ‘โหยหา’


เพลง ‘Lo-Fi’ ทำให้ผู้ฟังสามารถโฟกัสไปกับเพลงว่ากำลังรับฟังอะไรอยู่ ในขณะเดียวกัน เพลงเหล่านี้ก็ทำหน้าที่เป็นแบล็คกราวที่ดีในตัวเอง


เราอาจต้อง “ขอบคุณความไม่เพอร์เฟกต์” เหล่านี้ ที่ทำให้เราสบายใจและสามารถปลดปล่อยอารมณ์ความเป็นตัวเองไปกับเสียงเพลงที่เป็นทั้งผู้เล่าและผู้ฟังที่ดีให้แก่คุณในโมเมนต์แห่งความสุนทรีย์


อยากให้ลองฟังเพื่อเติมความชิลล์ สร้างบรรยากาศการทำงานให้สบายหู สบายใจกันดูครับ 

Advertisements