Medical Neutrality หรือ หลักการความเป็นกลางทางการแพทย์ หมายถึงการไม่เข้าแทรกแซงทางการแพทย์ในขณะที่มีความขัดแย้งและความไม่สงบเกิดขึ้น แพทย์จะต้องได้รับอนุญาตในการดูแล รักษา ผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บโดยไม่คำนึงถึงความเกี่ยวข้องทางการเมือง ทุกคนควรมีสิทธิ์ที่จะได้รับการรักษาอย่างเท่าเทียม ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ ทหาร ประชาชน หรือแม้แต่ผู้ก่อการร้าย
ทุกฝ่ายต้องละเว้นจากการโจมตีบุคลากร สถานพยาบาล หรือการขนส่งที่เกี่ยวข้อง โดยหลักการนี้เป็นข้อตกลงร่วมกันของ กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ, จริยธรรมทางการแพทย์, และกฎหมายมนุษยธรรม
ความเป็นกลางทางการแพทย์อาจถือได้ว่าเป็นสัญญาทางสังคมชนิดหนึ่ง ที่บังคับให้สังคมต้องปกป้องบุคลากรทางการแพทย์ทั้งในยามสงครามและยามสันติ รวมถึงบังคับให้บุคลากรทางการแพทย์ปฏิบัติต่อบุคคลทุกคนโดยไม่คำนึงถึงศาสนาเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ หรือความเกี่ยวข้องทางการเมือง การละเมิดความเป็นกลางทางการแพทย์ (Medical Neutrality) ถือเป็นอาชญากรรมที่ระบุไว้ในอนุสัญญาเจนีวา ซึ่งไทยเองก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ลงนามสัญญาฉบับนี้เช่นกัน
ซึ่ง Medical Neutrality มีพระราชบัญญัติการคุ้มครองความเป็นกลางทางการแพทย์ปี 2554 (Medical Neutrality Protection Act of 2011) ซึ่งหากมีใครฝ่าฝืนถือว่าเป็นการละเมิดความเป็นกลางทางการแพทย์ตามหลักสากลที่ใช้ร่วมกัน ได้แก่
1.โจมตีโรงพยาบาล
2. ทำร้ายผู้ป่วย
3. ทำร้ายบุคลากรทางการแพทย์
4. โจมตีการขนส่งทางการแพทย์
5. ใช้สถานพยาบาลในทางที่ผิด
6. การละเมิดจริยธรรมทางการแพทย์ของบุคลากรทางการแพทย์
7. การใช้โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลเพื่อโจมตี
8.ใช้สถานพยาบาลเป็นที่เก็บอาวุธหรือทหาร
9. การใช้สถานพยาบาลเพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกเหนือจากความช่วยเหลือทางการแพทย์และการช่วยเหลือประชาชน
สัญลักษณ์กาชาด
สัญลักษณ์กาชาดเป็นเครื่องหมายคล้ายรูปบวกสีแดงบนพื้นสีขาว เป็นการให้เกียรติแก่ประเทศสวิตเซอร์แลนต์ซึ่งเป็นที่กำเนิดกาชาด ทั้งนี้ อนุสัญญาเจนีวา ได้มีการอนุโลมให้ใช้เครื่องหมายจันทร์เสี้ยวในประชาชนผู้นับถือศาสนาอิสลาม
เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์นั้น จะมีการติดสัญลักษณ์กาชาด เพื่อเป็นอันให้รู้กันโดยสากลว่าเป็นหน่วยงานที่เข้ามาเพื่อบรรเทาทุกข์ ปกป้องคุ้มครอง ผู้บาดเจ็บและปฏิบัติงานช่วยเหลือทั้งสองฝ่ายอย่างเป็นกลางและไม่เลือกปฏิบัติ
มีกฎหมายระหว่างประเทศรับรองการใช้เครื่องหมายกาชาดดังต่อไปนี้
– เป็นเครื่องหมายคุ้มครองบุคคล เช่น แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่อาสาสมัคร เชลยศึกหรือนักโทษสงครามผู้บาดเจ็บทั้งทหารและพลเรือน
– เป็นเครื่องหมายคุ้มครองอาคาร สถานที่ และทรัพย์สินของกาชาด ยานพาหนะ ตลอดทั้งอุปกรณ์การแพทย์ และอุปกรณ์ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
อย่างไรก็ตาม การที่หน่วยงานใดจะใช้เครื่องหมายกาชาดได้ ต้องขออนุญาตใช้งานจากสภากาชาดประจำประเทศ ซึ่งต้องใช้เวลาและเป็นไปตามกระบวนการ
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา จึงมีเครื่องหมายถึงแสดงตนเป็นหน่วยแพทย์ นอกจากเครื่องหมายกาชาด ซึ่งเป็นที่รู้กันใน ระดับสากลว่า สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายอื่นๆ ที่แสดงตัวถึงบุคลากรทางแพทย์ อาสาฯ หรือผู้ที่เข้ามาช่วยเหลือดูแลช่วยชีวิต ควรได้รับความคุ้มครองเฉกเช่นเดียวกัน ตามสามัญสำนึกของความเป็นมนุษย์โดยทั่วไป
แปลและเรียบเรียงจาก
แหล่งที่มาเพิ่มเติม