องค์กรแต่ละแห่งนั้นเหมาะกับกลยุทธ์ในการปรับตัวด้วยเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน แต่สิ่งพื้นฐานที่จำเป็นต้องมี ไม่ว่าจะในองค์กรแบบใด ก็คือเรื่องของการสร้างความชัดเจนสำหรับทิศทางในองค์กร ความเข้าใจในลูกค้ายุคใหม่ และอย่างสุดท้ายคือความรวดเร็ว ซึ่งเป็นหัวใจหลักในยุคดิจิทัล ซึ่งแต่ละส่วนมีความสำคัญดังนี้
เคล็ด (ไม่) ลับ การปรับองค์กรสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation)
องค์กรแต่ละแห่งนั้นเหมาะกับกลยุทธ์ในการปรับตัวด้วยเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน แต่สิ่งพื้นฐานที่จำเป็นต้องมี ไม่ว่าจะในองค์กรแบบใด ก็คือเรื่องของการสร้างความชัดเจนสำหรับทิศทางในองค์กร ความเข้าใจในลูกค้ายุคใหม่ และอย่างสุดท้ายคือความรวดเร็ว ซึ่งเป็นหัวใจหลักในยุคดิจิทัล ซึ่งแต่ละส่วนมีความสำคัญดังนี้
1. ความชัดเจนในองค์กร
การปรับองค์กรสู่ยุคดิจิทัล หรือ Digital Transformation ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของแต่ละองค์กรเลยก็ว่าได้ ดังนั้น การมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนว่า เรากำลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งที่ดีกว่าอย่างไร เรามองภาพขององค์กรในอนาคตอีก 3 หรือ 5 ปีข้างหน้าเป็นอย่างไร ผู้บริหารและทีมงานจึงมีส่วนสำคัญอย่างมาก ในการสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นว่า เทคโนโลยีจะเข้ามามีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและอำนวยความสะดวกในการทำงานอย่างไรบ้าง พนักงานจะต้องเตรียมตัวในด้านไหนเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ เพื่อทำให้ Digital Transformation นี้ค่อยๆ ดำเนินไปอย่างมั่นคงและชัดเจน เมื่อเราได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ตั้งแต่พนักงานสู่ผู้บริหาร ก็จะเกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ที่จะส่งผลดีต่อการเติบโตขององค์กรโดยรวม
2. ความเข้าใจในลูกค้า
ในอดีตลูกค้าจะต้องเดินเข้ามาที่หน้าร้าน จึงจะรู้จักกับผลิตภัณฑ์และการบริการของเรา แต่ปัจจุบันการมาถึงของเทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้ชีวิตประจำวันและพฤติกรรมในการบริโภคเปลี่ยนไป ซึ่งส่งผลต่อทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
กล่าวคือ เทคโนโลยีนั้นจะช่วยสร้างโอกาสให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลของสินค้าและบริการ ได้จากหลากหลายช่องทางมากขึ้น ได้รับข้อมูลการส่งเสริมการขายที่เฉพาะเจาะจงขึ้น ขณะที่องค์กรหรือแบรนด์เองก็มีโอกาสในการสร้างประสบการณ์การเข้าถึงที่แตกต่าง ตามลักษณะและไลฟ์สไตล์ของลูกค้าแต่ละคนมากขึ้นด้วย
เพราะฉะนั้น องค์กรจึงต้องมีความเข้าใจความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้าทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึก ว่า วันนี้เราเข้าใจลูกค้าเราดีขนาดไหน เราตอบสนองความต้องการของลูกค้าแล้วหรือยัง ซึ่งถือเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factors) อย่างหนึ่ง
3. ความเร็ว
ในยุคที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปมาเพียงเสี้ยววินาที ความรวดเร็วเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการแข่งขันกับตลาด เราจึงต้องทบทวนว่า ควรปรับนวัตกรรม ความคิดหรือวิธีการทำงานของเราอย่างไร เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงผลิตภัณฑ์หรือการบริการของเราได้ในระยะเวลาที่เร็วและสั้นที่สุด
นอกจากนี้ ในแง่ของการจัดการทีมเอง เราก็ต้องดูว่า เรามีกระบวนการทำงาน การตัดสินใจ และการ empower ทีมของเราอย่างไร ให้ทุกคนพร้อมและกล้าที่จะลงมือทำ กล้าที่จะยอมรับความล้มเหลว เพื่อนำมาปรับปรุง และต่อยอดให้การทำ Digital Transformation เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Digital Literacy ทักษะทางดิจิทัลที่พนักงานต้องมีในปัจจุบัน
Digital Literacy คือทักษะต่างๆ ในทางดิจิทัล ซึ่งจะสามารถนำไปต่อยอดทางธุรกิจได้ ทักษะเหล่านี้เป็นเสมือนกับการเรียนภาษาหนึ่ง ซึ่งถ้าเราเข้าใจภาษานั้นจนนำไปใช้ได้ เราก็จะสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารในภาษานั้นๆ ได้ และสื่อสารกับผู้อื่นที่รู้ภาษานั้นได้คล่องมากขึ้นอีกด้วย
ดังนั้น องค์กรจึงควรสนับสนุนให้พนักงานมีความรู้ ความเข้าใจในเทคโนโลยีพื้นฐานที่ตรงกับสายงานของตัวเอง เพื่อให้เกิดทักษะด้านดิจิทัล เช่น หากทำงานในสายงาน HR ก็ควรต้องรู้แพลตฟอร์มเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลของพนักงาน และสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาคาดการณ์หรือวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในอนาคต
นอกจากนี้ ควรเสริมทักษะอื่นๆ ที่สอดคล้องกับตลาดและกลยุทธ์ขององค์กรด้วย อย่างเอคเซนเชอร์เอง เราก็ให้ความสำคัญกับ Technology Quotient หรือ TQ ซึ่งก็คือ การรู้จักเทคโนโลยีและการเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาดให้เกิดประโยชน์นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ Cloud, Data หรือ Security เป็นต้น
ถ้าหากเข้าใจข้อมูลแม้เพียงเบื้องต้น ก็จะทำให้การทำงานระหว่างฝ่ายต่างๆ เข้าใจกันง่ายมากขึ้น ช่วยให้บริการลูกค้าได้สะดวกขึ้น และนำไปสู่การพัฒนาองค์กร ในบริษัทเอคเซนเชอร์ก็ได้มีโครงการที่จัดทำเพื่อเพิ่ม TQ ให้กับบุคลากร โดยมีความคืบหน้าถึง 80% ภายใน 3 เดือน โดยไม่มีการบังคับ เพราะเป็นหัวข้อที่หลายๆ คนนั้นอยากเรียนรู้อยู่แล้ว
นอกจากทักษะทางดิจิทัลแล้ว ทักษะที่เป็น Soft-Skill ก็ยังคงมีความสำคัญ และจะช่วยเสริมให้เราก้าวหน้ายิ่งขึ้น เช่น ความอยากพัฒนาตนเองตลอดเวลา และพร้อมเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ เพราะในยุคดิจิทัล เราต้องเปิดใจรับนวัตกรรม และบุคลากรที่แตกต่างจากเรา ด้วยเหตุนี้ การมีกระบวนการคิด (mindset) ที่ดีและเปิดกว้าง จึงเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับทุกคนในองค์กร
รวมถึงทักษะแบบ Multitask ในโลกดิจิทัล อย่างตำแหน่ง Full Stack Developer หรือนักพัฒนาเว็บอย่างเต็มรูป ที่สามารถทำได้ทั้ง front-end และ back-end ทำให้เห็นว่า ณ ตอนนี้ เป็นเรื่องปกติที่บริษัทหนึ่งจะต้องการคนที่สามารถทำได้หลายอย่าง เหมือนกับ Full Stack Developer ที่มีความรู้ทั้งด้านธุรกิจและเทคโนโลยี ซึ่งแนวโน้มในอนาคต คนที่มีความรู้ในทั้งสองด้านนี้จะเป็นที่ต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น
เข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างมั่นใจ ด้วยผู้ช่วยที่พร้อมให้คำปรึกษาในทุกการปรับตัวขององค์กร
จะเห็นได้ว่า การเตรียมความพร้อมเพื่อปรับเข้าสู่ยุคดิจิทัลนั้นเป็นเรื่องที่เราต้องให้ความสำคัญอย่างมาก สำหรับองค์กรไหนที่พบเจอปัญหาในการก้าวสู่ Digital Transformation การได้ที่ปรึกษาผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ก็จะช่วยให้การปรับเปลี่ยนองค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับ “เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย” เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีและธุรกิจชั้นนำของโลก มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญครอบคลุมกว่า 40 อุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น การเงินการธนาคาร, อุปโภค บริโภค และบริการ, การสื่อสารและสื่อ, พลังงาน, ประกันภัย, การค้าปลีก, สาธารณูปโภค เป็นต้น มีการบริการลูกค้าแบบครบวงจร (end-to-end) ซึ่งแบ่งเป็น 4 ทีมเข้าช่วยเหลือในฐานะที่ปรึกษา เพื่อออกแบบวิธีการให้เหมาะสมที่สุด โดยทั้ง 4 ทีมประกอบด้วย
- Strategy & Consulting หรือทีมให้คำปรึกษา และวางกลยุทธ์ให้ลูกค้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ธุรกิจ
- Technology หรือทีมที่สร้างและใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพให้ธุรกิจ เช่น AI Robotic และ Analytics
- Interactive หรือทีมที่ออกแบบและดูแลประสบการณ์ของลูกค้า
- Operations หรือทีมด้านการปฏิบัติการ หรือทีมที่ทำเรื่อง outsourcing โดยเฉพาะ
ปัจจุบันเอคเซนเชอร์ มีพนักงานกว่า 5 แสนคน ให้บริการลูกค้าใน 120 ประเทศทั่วโลก โดยในประเทศไทย มีพนักงานกว่า 1,000 คนที่พร้อมให้บริการลูกค้าทุกกลุ่มธุรกิจ
มาเริ่มต้นเตรียมตัว เพื่อปรับองค์กรให้เข้าสู่ยุคดิจิทัล ทั้งด้านการใช้เทคโนโลยี และการพัฒนาทักษะของพนักงานไปด้วยกัน และถ้าหากใครต้องการทำงานในองค์กรที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในด้าน Digital Transformation สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.accenture.com/